วันเสาร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2554

[17] ไฟไหม้โรงงานประกอบรถยนต์นิสสัน!

วันนี้ขออินเทรนด์หน่อยนะครับ เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2554 ที่ผ่านมา เกิดเหตุเพลิงไหม้กองเศษวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว ภายในบริเวณโรงงานประกอบรถยนต์นิสสัน ถ.บางนา-ตราด จุดเกิดเหตุเป็นที่เปิดโล่ง และเป็นลานกว้างเพื่อวางกองเศษวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว เช่น ชิ้นงานที่ไม่ได้คุณภาพ พลาสติก ลังไม้ต่างๆ เป็นต้น ...หลังจากได้รับแจ้งเหตุ รถดับเพลิงก็เข้ามาทำการดับเพลิงได้อย่างทันท่วงที ไฟไม่มีการลุกลามสร้างความเสียหายให้กับบริเวณข้างเคียง ความเสียหายก็ไม่มากนัก เพราะว่าเป็นเศษวัสดุอย่างที่รายงาน

 ตัวอย่างข่าวที่เกี่ยวข้องครับ>>>เดลินิวส์, INN

มันเกิดขึ้นได้ยังไง? เป็นคำถามแรกที่เกิดขึ้นหลังจากทราบข่าวครับ เป็นแค่กองเศษวัสดุ แล้วมันจะเกิดเพลิงไหม้ได้ยังไง ..ต้องมีสาเหตุสิน่า..เรามาวิเคราะห์กัน

วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2554

[16] Fire Protection System: มีอุปกรณ์ครบ...แต่ดูแลไม่ดี..มีไปมันก็เท่านั้น!!

หลังจากหายหน้าหายตาไปหลายวัน กลับมาคราวนี้มีตัวอย่างดีๆ มาเล่าสู่กันฟังครับ เป็๋นเรื่องของระบบดับเพลิง (Fire Protection System) เรื่องของเรื่องมันมีอย่างงี้ครับ

ผมเองเพิ่งได้ไปสำรวจโรงงานแห่งหนึ่งมา ระบบดับเพลิง (Fire Protection System) มีครบครับ ทั้งปั๊มป์น้ำดับเพลิง (Fire pump) ที่ได้มาตรฐาน ท่อดับเพลิงที่เดินรอบโรงงาน มีหัวจ่ายน้ำดับเพลิง (Fire hose connection) กระจายอยู่รอบๆ โรงงานอย่างทั่วถึง แล้วก็มีระบบหัวกระจายน้ำดับเพลิงอัตโนมัติ (Automatic Sprinkler System) อีกด้วย...อ้อ แล้วก็มีน้ำดับเพลิง (Fire Water) อย่างเพียงพอสำหรับดับเพลิงได้ประมาณครึ่งชั่วโมงตามมาตรฐานเป๊ะ...แต่มันมีปัญหาตรงนี้ครับ..

วันอาทิตย์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2554

[15] "ไฟ (Fire)" ...มันเกิดขึ้นได้ยังไง?

"ไฟ" เคยสงสัยมั้ยครับ ว่ามันเกิดขึ้นได้ยังไง? ไม่ต้องพูดพร่ำทำเพลงครับ เข้าเรื่องกันเลยดีกว่า

องค์ประกอบของ "ไฟ (Fire)" เราจะใช้ "สามเหลี่ยมแห่งไฟ" เป็นตัวอธิบายครับ ตามรูปเลย


"ไฟ (Fire)" จะประกอบด้วยสามสิ่งก็คือ ความร้อน (Heat), เชื้อเพลิง (Fire Load) และ อากาศ (Air) (ก็ออกซิเจนนั่นแหล่ะครับ) เมื่อความร้อนพร้อม.. เชื้อเพลิงพร้อม.. อากาศพร้อม.. ก็ไหม้กันได้เลยครับ!! (น่ากลัวจริงๆ)

วันศุกร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2554

[14] วันนี้คุณตรวจสอบระบบสัญญาณเตือนภัย (Fire Alarm system) แล้วหรือยัง?

ระบบสัญญาณเตือนภัย (Fire Alarm System) โดยทั่วไปจะประกอบไปด้วยอุปกรณ์ดังต่อไปนี้
  • ปุ่มกดสัญญาณเตือนภัย (Manual Fire Alarm Station) หรืออาจจเป็นแบบ ดึงหรือทุบก็ได้
  • ระบบสัญญาณแจ้งเหตุอัตโนมัติ (Automatic Detection system) เช่น อุปกรณ์ตรวจจับควัน (Smoke Detector), ความร้อน (Heat Detector), แก๊ส (Gas Detector), เปลวไฟ (Flame Detector) เป็นต้น
  • ตู้ควบคุมสัญญาณเตือนภัย (Fire Control Panel) เป็นตู้ที่ควบคุมการทำงานของทั้งระบบ โดยสัญญาณจากอุปกรณ์ทุกตัวจะส่งมาที่ตู้นี้ เพื่อแจ้งว่ามีการเตือนภัยที่แห่งหนตำบลใด รวมไปถึงควบคุมการทำงานของสัญญาณเสียงเตือนภัยด้วย
  • แผนภาพแสดงจุดเกิดเหตุ (Graphic Annunciator Board) เป็นตู้ที่แสดงด้วยภาพแผนผังของโรงงานหรืออาคาร แล้วมีไฟแสดงตามจุดหรือโซนที่กำหนดไว้ หากเกิดเหตุตรงไหนไฟก็จะสว่างขึ้น ณ จุดนั้นๆ
  • บางแห่งอาจจะมีการติดตั้งตู้แสดงการทำงานของระบบดับเพลิงอื่นๆ เช่น ปั๊มป์น้ำดับเพลิง (Fire Pump system) หรือ ระบบหัวกระจายน้ำอัตโนมัติ (Automatic Sprinkler System) เป็นต้น

วันพฤหัสบดีที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2554

[13] ความเป็นระเบียบเรียบร้อย (Housekeeping) ...ที่ทุกคนมักจะละเลย!!

ความเป็นระเบียบเรียบร้อย (Housekeeping) เป็นยอดปรารถนาของทุกบริษัท หรือแม้แต่ในบ้านของเราเอง แต่เชื่อมั้ยครับว่า มันมักจะถูกละเลยอยู่เป็นประจำ จากพวกเราเองนี่แหล่ะ...!!

ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อครับ เพราะว่าเท่าที่ผมเคยไปสำรวจโรงานหรืออาคารต่างๆมา เรื่อง Housekeeping นี้มักจะเป็นสิ่งแรกๆ เลยที่จะถูกยกมาพูดคุยกันหลังจากเสร็จงานเป็นประจำ

เมื่อพูดถึงความเป็นระเบียบเรียบร้อย (Housekeeping) เราจะนึกถึงอะไรกันบ้างครับ ความสะอาด จัดของเรียบร้อย ไม่รกรุงรัง บ้านสะอาดน่ามอง โรงงานมีการขีดสีตีเส้นอย่างชัดเจน ว่าหน่วยงานไหนมีพื้นที่ตรงไหนบ้าง และอื่นๆ อีกมากมาย แต่เมื่อมาอยุ่ในหัวเรื่องของการประเมินความเสี่ยง (Risk Engineering Management) แล้ว มันย่อมไม่ธรรมดาซักหน่อยล่ะครับ

สิ่งที่ไม่ธรรมดานั้นมันหมายความรวมไปถึงนัยยะที่แฝงอยู่ครับ

วันอังคารที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2554

[12] Risk Engineer ... หลักสูตรไหนเนี่ย ไม่เคยได้ยิน!? (Part 2)

บทความนี้มาต่อกันจากบทความที่แล้วครับ ว่า "วิศวกรรมแต่ละสาขา เกี่ยวข้องกับธุรกิจยังไง?"

ยกตัวอย่างเป็น "โรงงานผลิตน้ำตาล" ก็แล้วกันนะครับ กระบวนการผลิตจะเป็นแบบนี้
  • อ้อยจากไร่ถูกตัด ปอกเปลือก และย่อย เป็นชิ้นเล็กๆ
  • ผ่านลูกหีบเพื่อรีดเอาน้ำอ้อยออกมา ตรงนี้จะผ่านลูกหีบประมาณ 6 ชุด น้ำอ้อยจากลูกหีบชุดหลังจะถุกส่งไปรีดน้ำอ้อยชุดแรกๆ เพื่อให้ได้น้ำอ้อยออกมามากที่สุด กระบวนการนี้จะมีไอน้ำมาเกี่ยวข้องด้วยครับ เพื่อช่วยรีดน้ำอ้อยเช่นกัน สิ่งที่เหลือคือ กากอ้อยหรือชานอ้อย (Bagasses) ขนาดฝุ่นผง เอาไปทำ

วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2554

[11] Risk Engineer ... หลักสูตรไหนเนี่ย ไม่เคยได้ยิน!? (Part 1)

เมื่อพูดถึงคนที่จะทำการประเมินความเสี่ยง (Risk Management) ก็ต้องพูดถึง "วิศวกรประเมินความเสี่ยง (Risk Engineer) " เป็นอันดับแรก...อย่าว่าอย่างงั้นอย่างงี้เลยครับ ผมเองเพิ่งเคยได้ยิน ก่อนจะเข้าวงการนี้ัเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้เอง...แล้วเจ้า Risk Engineer นี่เค้าเปิดสอนกันที่ไหนรึ? หลักสูตรมันเป็นยังไง?

ผมจะบอกความจริงว่า "ไม่มีเปิดสอนในส่วนวิศวกรรมครับ!" ส่วนใหญ่จะแทรกอยู่ตามหลักสูตรต่างๆ แต่ไม่มีการทำเป็นรุปธรรมชัดเจน ที่ใกล้เคียงที่สุดก็คงเป็น Fire protection Engineer ที่ในเมืองไทยเปิดสอนที่เดียวเองมั้งครับถ้าจำไม่ผิด (อยากเรียนอยู่เหมือนกัน อิอิ) แล้วก็มีเปิดสอนในส่วนของหลักสูตรความปลอดภัย ในสาขาสาธารณสุขอะไรซักอย่างนี่แหล่ะครับไม่แน่ใจ แต่ที่แน่ๆ ไม่มีในทางวิศวกรรมแน่นอน ....เอาล่ะสิแล้วมันเป็นกันได้ยังไงเนี่ย เจ้า Risk Engineer เนี่ย?

วันอาทิตย์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2554

[10] ไฟไหม้ในเมืองไทย...ต้อง "ไฟฟ้าลัดวงจร" ..?

หากเกิดเหตุ "ไฟไหม้" ในเมืองไทยเมื่อไหร่ สมมติฐานแรกที่มักจะตกเป็นจำเลยก็คือ "ไฟฟ้าลัดวงจร" เคยสงสัยกันบ้างมั้ยครับว่าทำไม? ผมเองก็สงสัยว่าสาเหตุมันง่ายขนาดนั้นเลยหรือ? หรือว่าเค้ายังหาสาเหตุจริงๆ ไม่เจอ เลยเอาเรื่อง "ไฟฟ้าลัดวงจร" มาเป็นสสมติฐานไว้ก่อน?

จนกกระทั่งผมได้มาทำงานเป็น วิศวกรประเมินความเสี่ยง (Risk Engineer) ที่ต้องไปประเมินความเสี่ยงของทรัพย์สินลุกค้า ไม่ว่าจะเป็นโรงงาน โรงแรม คอนโดมิเนียม ห้างสรรพสินค้า หรือที่ไหนๆ ก้ตามก่อนการรับประกันภัยทรพย์สินนี่แหล่ะครับ ถึงได้ถึงบางอ้อว่าทำไม...

วันพุธที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2554

[9] ความเสียหายทางธุรกิจ (Business Interruption)

ความเสียหายทางธุรกิจ (Business Interruption) อันนี้ก็เป็นความเสี่ยงอีกแบบหนึ่งครับที่เจ้าของคงไม่อยากให้เกิดขึ้นแน่ๆ ไม่ว่าธุรกิจแบบไหนก็ประเมินได้ครับ มากน้อบแตกต่างกันไปลักษณะธุรกิจและความเสี่ยงที่มี

สิ่งที่เราจะประเมินเกี่ยวกับเจ้าตัว ความเสียหายทางธุรกิจ (Business Interruption) นี้ก็คือ

วันจันทร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2554

[8] การประเมินความเสียสูงสุด (Estimate Mximum Loss, EML)


การประเมินความเสียสูงสุด (Estimate Mximum Loss, EML) เป็นส่วนที่ช่วยให่เราได้เห็นภาพว่า ความเสียสูงสุดของแต่ละ "ภัย" มีมากน้อยแค่ไหน หากเกิดความเสียหายรุนแรงขึ้น ตรงจุดนี้มัขั้นตอนการประเมินดังนี้ครับ

  • เริ่มจากดูแผนผัง (Layout) ของ "ภัย" ก่อน ไม่ว่าจะเป็นโรงงาน โรงแรม หรืออาคารต่างๆ เอาแบบแผนผังรมที่เห็นว่ามีอาคารอะไรอยู่ตรงไหน และมีระยะห่างเท่าไหร่ด้วยนะครับ
  • สังเกตุว่าแต่ละอาคารทำอะไรบ้าง เช่น การผลิต เก็บสินค้า สำนักงาน โรงอาหาร ฯลฯ
  • ทีนี้มา "แบ่งกลุ่มของภัย (Fire Area)" กันครับ ว่าแต่ละอาคารมีระยะห่าง (Spatial Separation) ที่เพียงพอหรือไม่ โดยทั่วไปก็จะประมาณ 10 เมตรขึ้น ถ้าใกล้กว่านี้ก็ถือว่าอยู่กลุ่มเดียวกัน แต่ถ้าจุดไหนมีความเสี่ยงสูง เช่น

วันอาทิตย์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2554

[7] 'ภัยธรรมชาติ' สิ่งที่ควบคุมไม่ได้ แต่ป้องกันได้

เรื่องของ "ภัยธรรมชาติ" เป็นสิ่งที่ควบคุมไม่ได้ แต่ป้องกันได้ ในทางการสำรวจ "ภัย" เพื่อประเมินความเสี่ยงนั้น "ภัยธรรมชาติ" ก็เป็นหัวข้อหนึ่งที่ต้องพิจารณาเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น พื้นที่ฝนตกชุก น้ำท่วมซ้ำซาก อยู่ริมทะเล น้ำท่วมขัง ใกล้ภูเขาไฟ อย่างงี้เป็นต้น

ผมจะลองยกตัวอย่างดูให้เห็นภาพชัดขึ้นนะครับ ... "ภัย" ที่ตั้งอยู่แถวพื้นที่ชายฝั่งหรืออยู่ริมทะเล อันนี้เสี่ยงต่ออะไรบ้าง อย่างแรกเลย ก็ "การทรุดตัวของแผ่นดิน" ครับ เพราะพื้นที่ชายฝั่งจะถูกกัดเซาะอยู่เป็นประจำ แถมดินยังอ่อนตัวอีกต่างหาก

วันเสาร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2554

[6] ทำไมแต่ละ "ภัย" ถึงต้องมีการบริหารจัดการที่ดี

คำว่า "ภัย" ในที่นี้หมายถึงจุดที่เราทำการประเมินความเสี่ยง เช่น ตึกสูง โรงแรม โรงงาน เป็นต้น ซึ่งต่อจากนี้ไปผมขอใช้คำนี้ไปตลอดนะครับ จะได้เข้าใจง่ายดี

การบริการจัดการเกี่ยวข้องกับการประเมินความเสี่ยงยังไง? มันเกี่ยวข้องกันอย่างแรงเลยล่ะครับ เพราะถ้าไม่มีการบริหารจัดการที่ดี จะส่งผลให้ความปลอดภัยน้อยลง และมีความเสี่ยงต่อการเกิดความเสียหายได้มากขึ้นด้วย ขอยกตัวอย่างวักหน่อยนะครับ


[5] ระบบป้องกันอัคคีภัย (Fire Protection System) ...ไม่พูดถึงไม่ได้แล้ว

ใช่แล้วครับ ระบบป้องกันอัคคีภัย (Fire Protection System) เป็นพระเอกของเราเลยล่ะ ในการที่จะประเมินว่าความปลอดภัยของจุดที่เราประเมินนั้นมีมากน้อยแค่ไหน ตรงจุดนี่จะครอบคลุมหลายส่วนเลยครับ ไล่กันไปตั้งแต่

- ระบบน้ำดับเพลิง และเครื่องสูบน้ำดับเพลิง (Fire water and Fire pump system)
- ถังดับเพลิง (Fire Extinguisher)
- หัวจ่ายน้ำดับเพลิงและสายฉีดน้ำดับเพลิง (Fire hose connection and

วันพฤหัสบดีที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2554

[4] การวิเคราะห์ความเสี่ยงของ อุปกรณ์สนับสนุนการผลิต (Utility)

 
มันเกี่ยวกันยังไงเหรือครับ การวิเคราะห์ความเสี่ยง (Risk management) กับพวกอุปกรณ์สนับสนุนการผลิต (Utility) ง่ายๆ เลย คอนเซป์เดียว "ถ้าเจ้านี่เสียหาย จะไปกระทบกับอะไรบ้าง? แล้วจะแก้ปัญหายังไง?" เช่น

[3] การวิเคราะห์ความเสี่ยงกับข้อมูลทั่วไปของจุดที่วิเคราะห์


การวิเคราะห์ความเสี่ยงกับข้อมูลทั่วไป มันเกี่ยวข้องกันยังไง ผมขอยกตัวอย่างหัวข้อแล้วกันนะครับ ตัวอย่างส่วนใหญ่ต่อไปนี้ผมขอโยงไปถึงพวก "ตึก" "อาคาร" รวมไปถึง "โรงงาน" ใดๆ ก็ตามนะครับ จะได้เข้าใจง่ายดี