วันอาทิตย์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2554

[10] ไฟไหม้ในเมืองไทย...ต้อง "ไฟฟ้าลัดวงจร" ..?

หากเกิดเหตุ "ไฟไหม้" ในเมืองไทยเมื่อไหร่ สมมติฐานแรกที่มักจะตกเป็นจำเลยก็คือ "ไฟฟ้าลัดวงจร" เคยสงสัยกันบ้างมั้ยครับว่าทำไม? ผมเองก็สงสัยว่าสาเหตุมันง่ายขนาดนั้นเลยหรือ? หรือว่าเค้ายังหาสาเหตุจริงๆ ไม่เจอ เลยเอาเรื่อง "ไฟฟ้าลัดวงจร" มาเป็นสสมติฐานไว้ก่อน?

จนกกระทั่งผมได้มาทำงานเป็น วิศวกรประเมินความเสี่ยง (Risk Engineer) ที่ต้องไปประเมินความเสี่ยงของทรัพย์สินลุกค้า ไม่ว่าจะเป็นโรงงาน โรงแรม คอนโดมิเนียม ห้างสรรพสินค้า หรือที่ไหนๆ ก้ตามก่อนการรับประกันภัยทรพย์สินนี่แหล่ะครับ ถึงได้ถึงบางอ้อว่าทำไม...


แต่ก่อนอื่นอยากพูดเรื่องไฟฟ้าลัดวงจรก่อนว่ามันเกิดขึ้นได้ยังไง สาเหตุจริงๆ มาจากหลายจุดครับ เช่น
  • ขั้วสายไฟหรือจุดเชื่อมต่อหลวม ทำให้เกิดความร้อนสุูงกว่าปกติ
  • สายไฟเสื่อมสภาพ ปลอกสายไฟชำรุด ฉีกขาด จนเห็นสายนำไฟฟ้าข้างใน ถ้ามีอะไรมาสัมผัสก็เสร็จครับ ช็อตแน่นอน
  • การเลือกใช้สายไฟไม่เหมาะสมกับปริมาณไฟฟ้าที่ต้องใช้ เช่น ต้องการไฟแรงดันเยอะ แต่ดันเลือกสายไฟแบบขนาดต่ำๆ อันนี้ก็ช็อตได้เหมือนกัน
  • ต่อสายไฟแบบ "ขอไปที" โดยไม่ใช้อุปกรณ์ต่อพ่วง เช่น ใช้เทปพันสายไฟ แต่ดันทำไม่เรียบร้อย หลุดลุ่ยบ้าง พันไม่สนิทบ้าง
  • ใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ไม่ได้มาตรฐาน เพราะคิดว่า แบบนี้ก็ใช้ได้เหมือนกัน ถูกกว่าด้วย..."เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย" นะครับ เตือนไว้ก่อน
  • เสียบชาร์ตแบตอะไรก็ตามทิ้งไว้นานๆ ...ก็เสี่ยงนะครับอันนี้ ความร้อนสะสมมันเยอะ ลองสังเกตุดูครับ
  • หรือแม้แต่ "ฝุ่น" ที่จับตามอุปกรณ์ มันจะทำให้เกิดความร้อนสะสมที่ตัวอุปกรณ์ จนเกิดการช็อตจากความร้อนสูงก็ได้นะครับ...อย่าว่าไปเลยเชียว
จริงๆ สาเหตุข้องไฟฟ้าลัดวงจร หรือไฟช็อต มีเยอะแยะครับ นี่แค่ส่วนหนึ่ง "ที่ใกล้ตัว" เท่านั้นเอง

มาถึงตรงนี้จะเล่าให้ฟัง ว่าทำไม "ไฟฟ้าลัดวงจร" ถึงต้องตกเป็นจำเลยไปโดนปริยาย...

จากที่ผมไปสำรวจ "ภัย" มาสังเกตุได้ครับว่า เมืองไทยมีอาคารหรือโรงงานเก่าแก่มากมาย หรือแม้แต่ บ้านไม้ ที่เป็นที่นิยมในบ้านเรามากในยุคก่อนๆ สายไฟที่เดินอยู่จนถึงวันนี้ก็คงมีอายุเก่าแก่พอกัน....หากไม่มีการบำรุงรักษา หรือเปลี่ยนตามอายุการใช้งาน...คงไม่ต้องบอกนะครับว่าจะเกิดอะไรขึ้น

อีกตัวอย่างหนึ่งคือ เมื่อก่อนใช้ไฟน้อย เพราะว่ากิจการยังไม่ใหญ่โตอะไร แต่พอมาตอนนี้กิจการรุ่งเรือง แต่ดันลืมคิดถึงเรื่องปรับขนาดอุปกรณ์ไฟฟ้า ให้เพียงพอกับการใช้งาน แค่นี้ก็เรียบร้อยครับ มีโอกาสสูงที่จะเกิดไฟฟ้าลัดวงจรแน่นอน

ในโรงงานที่ต้องทำงานกันทั้งวันทั้งคืน การชาร์ตแบตฯทิ้งไว้ เป็นเรื่องที่พบเห็นได้ทั่วไปครับ ไม่ว่าจะเป็นแบตฯมือถือ แบตฯฟอล์คลิฟท์ไฟฟ้า หรือว่าเสียบปลั๊กอุปกรณ์ต่างๆ ทิ้งไว้ โดยเฉพาะอุปกรณ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน เช่น ที่ชาร์จแบตฯมือถือแบบหนีบ (มีน้องเค้าตั้งชื่อให้ว่า รุ่นสะพานเหล็ก)...เชื่อมั้ยครับว่า จุดเล็กแค่นี้เป็นสาเหตุของการเกิดไฟฟ้าลัดวงจรได้ทั้งนั้น และหากจุดที่ชาร์จอยู้ใกล้กับวัสดุติดไฟ เช่น กระดาษ ไม้ หรือพลาสติก...โดยเฉพาะในอาคารเก็บสินค้าที่ต้องทำงานกันทั้งวันทั้งคืนแล้วล่ะก็ หึหึ....เป็นข่าวหน้าหนึ่งแน่นอนครับ...

ตัวอย่างนี้เป็นแค่บางส่วนนะครับ...การป้องกันไฟฟ้าลัดวงจรจริงๆ แล้วก็ไม่ยากเลยครับ แค่เราใส่ใจในเรื่องพวกนี้ก็ช่วยได้ครับ
  • ความสะอาดของอุปกรณ์ เช่น พวกเบรคเกอร์ จุดเชื่อมต่อสายไฟต่างๆ เป็นต้น
  • ใช้งานตอนที่มี่คนอยู่ ถ้ามไม่มีใครอยู่ก็ถอดปลั๊ก หรือผิดไฟไปเลย
  • ใช้อุปกรณ์ที่ได้มาตรฐาน อย่าไปกลัวเปลืองเงินครับ เดี๋ยวจะ "เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย"
  • หมั่นตรวจสอบอุปกรณ์อย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะอุปกรณ์ที่ต้องใช้ไฟมาก เช่น หม้อแปลงไฟฟ้า เตาอบไฟฟ้า หม้อต้มไอน้ำ เครื่องทำความเย็น เป็นต้น
  • อุปกรณืที่ใช้งานมานานหรือว่ามีอายุเยอะแล้ว ก็ดูแลเป็นพิเศษหน่อยนะครับ ถ้าไม่ไหวจริงๆ ก็เปลี่ยนไปเลย จะได้ไม่ต้องลุ้นครับ ว่ามันจะเสียเมื่อไหร่
เขียนมาตั้งเยอะ ดันลืมเรื่อง "การติดอุปกรณ์ตัดไฟฉุกเฉิน" ไปได้ ...อย่าลืมติดนะครับ ทดสอบดูด้วยนะครับ ว่าใช้งานได้จริงหรือเปล่าก่อนติดตั้ง จะได้ไม่เสียใจในภายหลัง...ว่าไฟฟ้าลัดวงจรจนเกิดไฟไหม้ เนื่องจากอุปกรณ์ตัดไฟฉุกเฉินไม่ทำงาน...แบบนี้เสียดายตังค์แย่เลย...

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น