วันพุธที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2554

[9] ความเสียหายทางธุรกิจ (Business Interruption)

ความเสียหายทางธุรกิจ (Business Interruption) อันนี้ก็เป็นความเสี่ยงอีกแบบหนึ่งครับที่เจ้าของคงไม่อยากให้เกิดขึ้นแน่ๆ ไม่ว่าธุรกิจแบบไหนก็ประเมินได้ครับ มากน้อบแตกต่างกันไปลักษณะธุรกิจและความเสี่ยงที่มี

สิ่งที่เราจะประเมินเกี่ยวกับเจ้าตัว ความเสียหายทางธุรกิจ (Business Interruption) นี้ก็คือ


  • ห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ก่อนเลยครับ ของที่สั่งมาผลิตมาจากไหนบ้าง มาจากแหล่งเดียวหรือเปล่า ถ้าเค้าไม่สามารถส่งของได้เรามีปัญหาขนาดไหน
  • ปริมาณสินค้าคงคลัง (Stock) ปกิตเราเก็บของไว้สำรองการผลิตกี่วัน สามารถช็อตได้กี่ชั่วโมงหรือกี่วัน เป็นต้น ซึ่งตรงนี้จะสัมพันธ์กันโดยตรงกับข้อข้างบนครับ ถ้าส่งมาไม่พอผลิตจะสามารถส่งช้่าไปได้กี่วัน ใครส่งได้ทันก็รอดตายครับ
  • หรือถ้ามองในแง่สินค้าที่ต้งอส่งลูกค้า หากเรามีปัญหาส่งของไม่ได้ หรือหยุดการผลิตกระทันหัน จะไม่สามารถส่งของให้ลุกค้าได้กี่วัน เป็นจำนวนเท่าใด
  • ความต่อเนื่องของสายการผลิต (Continuous process) หรือว่าการผลิตเป็นแบบต่อเนื่องหรือไม่ ถ้าเป็นแบบต่อเนื่องก็อันตรายหน่อยเพราะถ้าหากจุดใดจุดหนึ่งหยุดไป มีผลทำให้สายการผลิตหยุดไปทั้งหมดมั้ย
  • คอขวด (Bottle Neck) ของการผลิตโดยรวม จุดนี้แหล่ะครับพระเอกเลย เพราะว่าถ้าเราหาเจอได้ก็จะรู้ได้ทันทีครับ ว่ามีผลต่อการผลิตทั้งหมดเท่าไหร่ ทำให้คนอื่นช้าลงกี่เปอร์เซ็นต์ หรือถ้ามองในแงของการผลิตจะเป็นประโยชน์มากสำหรับเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตได้
  • รายได้ที่ได้รับต่อวันของธุรกิจ เป็นตัวเลขประมาณการณ์จากทางบัญชีครับ หลังจากเราประเมิณหัวข้องข้างบนหมดแล้วก็มาดูต่อกันที่หัวข้อนี้ ว่าระยะเวลาความเสียหายที่เกิดขึ้น ตีเป็นมูลค่าได้เท่าไหร่ ซึ่งก็เรียกว่า ความเสียหายทางธุรกิจ (Business Interruption) ซึ่งจะออกมาเป็นเปอร์เซ็นต์ของความเสียหายทางธุรกิจต่อมูลค่าทั้งหมดของธุรกิจนั้นๆ...เฉพาะต้นทุนนะครับ
  • ระยะเวลาฟื้นฟู (Indemnity period)  ก็ต่อเนื่องมาครับ  หลังจากเสียหายแล้วจะสามารถฟื้นฟูกลับมาเหมือนเดิมได้นานแค่ไหน
ยกตัวอย่างง่ายๆ ก็เซ็นทรัลที่โดนเผาไปรอบที่แล้วนั่นแหล่ะครับ ชัดเจนดี ธุรกิจหยุดไปกี่วัน เสียหายไปกี่ล้านบาท ระยะวเลาฟื้นฟูกี่เดือน...อันนี้อยู่ในแฟนเค้าหมดแหล่ะครับ ใครจะหยากให้เงินเสียไปเปล่าๆ นานๆ

การต่อยอด ความเสียหายทางธุรกิจ (Business Interruption) นี้สามารถนำมาเขียนเป็นแผนฟิ้นฟูธุรกิจได้ หรือ เรียกว่า Business Continuity Plan (BCP) เป็นแผนที่รวมทั้งการปฎิบัติตัวกรณีฉุกเฉินว่าจะต้องทำยังไง ผลิตยังไง มีแผนสำรองยังไงให้ธุรกิจดำเนินต่อไปได้ และใช้เวลานานเท่าไหร่

มาถึงตรงนี้แล้วอยากแบ่งปันประสบการณ์ครับ เจอมาสองครั้ง ครั้งแรกก็ตอนทหารปฎิวัติ บริษัทมีการประสานงานมาเป็นขั้นๆ จาก MD ผู้จัดการ หัวหน้างาน จนมาถึงระดับพนักงาน ในตอนกลางคืนว่าไม่ต้องเข้าออฟฟิศนะ มีปฎิวัติ ให้ทำงานอยู่ที่บ้าน (ไอ้เราก็นึกดีใจ..แต่เจ้ากรรม เค้ามีโน้ตบุคให้ แถมต่อเน็ตเข้า server ของบริษัทได้ เหมือนทำงานที่ออฟฟิศเลย...)  ครั้งนั้นผมทำงานอยู่ที่บ้านตั้งหลายวัน ว่ากันเป็นวันๆ ไปครับ รอคำสั่งจากลูกพี่อย่างเดียวเลย ว่าจะให้เข้างานหรือเปล่า

ครั้งต่อมาก็ตอนประท้วงเสื้อแดงนั่นแหล่ะครับ โอย..แทบแย่ ก็ที่ทำงานอยู่ใกล้กับจุดประท้วงนี่นา รถก็เข้าไม่ได้ ต้องเดินเข้าไปเพราะเค้าไม่ได้สั่งให้หยุด พอไปถึงก็ดันให้กลับซะงั้น แต่ก็ยังดีครับ ปลอดภัยกันทุกคน

ทั้งสองกรณีบอกได้ว่า ยังไงความปลอดภัยของพนักงานต้องมาก่อน เพื่อให้ธุรกิจสามารถเดินต่อไปได้ เพราะถ้ายังปล่่อยให้ไปทำงาน นั่นแหมายถึงความเสี่ยงต่อชีวิต และธุรกิจเลยล่ะครับ...

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น