วันพุธที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

[36] สำรวจภัยบทที่ 2 - การจัดเก็บวัตถุดิบ

ต่อเนื่องจากประเภทของวัตถุดิบ..ก็มาว่ากันเรื่อง "การจัดเก็บ"...ที่มีความสำคัญไม่น้อยเลยทีเดียว...


  • กลุ่มเที่เก็บในไซโล - ส่วนใหญ่จะบรรจุในไซโลนาดใหญ่แล้วลำเลียงไปตามท่อด้วยระบบลมเพื่อส่งต่อไปยังการผลิต...แบบนี้ต้องระวังเรื่องระบบสายดิน (Grounding) และขั้นตอนการขนถ่ายสินค้าจากรถขนส่งครับ...เพราะการเสียดสีของเส็ดพลาสติกจะทำให้เกิดไฟฟ้าสถิตย์ได้ เมื่อมาเจอกับฝุ่นของเม็ดพลาสติก ก็อาจจะเกิดการลุกใหม้ได้...
  • กลุ่มสารเคมี - การจัดเก็บที่เหมาะสมควรเป็นไปตาม Material Safety Data Sheet (MSDS) หรือเอกสารข้อมูลความปลอดภัยของวัสดุ หาได้ตามลิงค์เลยครับ >>> ศูนย์ข้อมูลวัตถุอันตรายและเคมีภัณฑ์ ... และโดยการจัดการโดยที่ทั่วไปที่เหมือนกันก็คือ ก่ารป้องกันการหกรั่วไหลที่เพียงพอ การแยกสารเคมีอันตรายที่ไม่ควรจัดเก็บไว้ใกล้กันในระยะอันตราย และระบบสายดิน (Grounding) ที่เหมาะสม 


  • กลุ่มที่เก็บบนชั้น - กลุ่มนี้ต้องระสังเรื่องความสมบูรณ์แข็งแรงของชั้นวางของ มีการตรวจสอบสภาพอย่างสม่ำเสมอ มีการติดป้ายบอกน้ำหนักที่สามารถจัดวางได้ตามที่ออกแบบไว้...และที่มำคัญ ระมัดระวังเรื่องการขับรถขนย้ายภายในพื้นที่ครับ...เคยเขียนเรื่องนี้ไว้ในบทความ [20] ชั้นเก็บสินค้า (Rack Storage) ... อย่ามองข้ามความปลอดภัย
  • กลุ่มวางกองบนพื้นในอาคารขนาดใหญ่ - เช่น น้ำตาล ข้าว ไม้สับ เหล่านี้ความเสี่ยงจะอยู่ที่ตัวอาคาร เพราะกองสินค้าจะกองพิงกับกำแพง...ทำให้มีน้ำหนักปริมาณมหาศาลกระทำกับกำแพง...ซึ่งถ้าแข็งแรงไม่พอ...ก็แตกร้าว...และพังในที่สุด การออกแบบจึงต้องมีการเสริมความแข็งแรงให้กับกำแพง และการจัดเก็บก็ไม่ควรเกินปริมาณที่ออกแบบไว้ อคารใหม่ๆ เดี๋ยวนี้มีหมดแล้วครับ แต่ว่าอาคารเก่าๆ ยังมีอีกเยอะที่ยังไม่ได้ทำ...
  • กลุ่มเส้นใยอัดมาเป็นก้อน - ความเสี่ยงที่มักจะเจอก็คือ สายรัดแบบเหล็กที่มาพร้อมกับก้อนเส้นใยอัด...ที่ต้องใช้คีมตัดเหล็กมาตัด..อันตรายเกิดขึ้นมาจาก...ความปลอดภัยของคนงานจากการตัดที่ไม่ถูกต้อง โดนเหล็กฟาดกันไป...และที่สำคัญคือ อย่าให้มีแหล่งความร้อนในพื้นที่จัดเก็บ เพราะเส้นใยหล่านี้..ติดไฟง่ายมากๆ...ถึงไม่เป็นเปลวไฟให้เห็นในทันที...แต่ถ้ามีความร้อนคุกรุ่นอยู่ภายใน...ได้เจอกันแน่นอน...
  • กลุ่มที่ลุกติดไฟได้เอง (Spontaneous) - กลุ่มนี้ต้องระมัดระวัง คอนยสอดส่องเป็นพิเศษครับ เพราะว่าจะมีการคายความร้อนยออกมาในสภาวะที่เหมาะสม เช่น ถ่านหินที่มีความชื้นเหมาะสม กองกากอ้อย หรือวัตถุดิบพวกสารอินทรีย์ทั้งหลาย...ตัวอย่างที่เคยเจอก็มีกองกากอ้อยที่ลุกไหม้เสียหายในปริมาณมาก เนื่องจากความร้อนที่คุอยู่ภายในกอง กว่าจะสังเกตเห็นก็ลุกลามเสียไปแล้ว...หรือว่าถ่านหินที่ต้องคอยพลิกกลบกองอยู่เรื่อยๆ 
  • กลุ่มที่วางกองในพื้นที่เปิดขนาดใหญ่ - เช่น งานเหล็ก ตู้คอนเทนเนอร์ สิ่งที่ควรระมัดระวังจะเป็นเรื่อง การระบายน้ำ และการจราจรภายในพื้นที่ เพราะในพื้นที่มีจะมีการเคลื่อนที่ของเครน...ที่ถ้าไม่มีสัญญาณเสียงและแสง...คนอาจจะเดินชนเครนได้นะครับ...เบาไปเอาใหม่...อาจเกิดอุบัติเหตุชนกันของเครนกับรถขนส่งได้...
ใครสนใจกรณีไหนก็ถามมาได้นะครับ ยินดีให้ข้อมูลครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น