วันพฤหัสบดีที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

[37] สำรวจภัยบทที่ 2 - กระบวนการผลิต ตอนที่ 1...การผลิตแบบต่อเนื่อง

"การผลิตแบบต่อเนื่อง (Continuous Process)" เป็นแบบที่มักจะเจอในหลายๆ โรงงาน การผลิตแบบนี้กระบวนการจะทำต่อกันไปเรื่อยๆ ตั้งแต่ต้นจนได้สินค้าออกมา บางครั้งอาจจะยาวไปจนถึงกระบวนการบรรจุและจัดเก็บเลยก็มี...ตัวอย่างการผลิตแบบต่อเนื่อง ยกตัวอย่างเช่น ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนพลาสติก ชิ้นส่วนยานยนต์ อาหาร โรงหลอมเหล็ก หรือแม้แต่การผลิตไฟฟ้า...

ประเด็นความเสี่ยงที่จะพูดถึงก็คือ..."ความต่อเนื่องของการผลิต"...เพราะการผลิตจะหยุดไม่ได้เลย หรือหยุดได้ก็คงแค่ชั่วคราว ไม่กี่นาทีหรือไม่กี่ชั่วโมง...ดังนั้นวัตถุดิบต้องป้อนเข้ามาอย่างเพียงพอ เครื่องจักรต้องพร้อมทำงาน ผู้ปฏิบัติงานต้องตื่นตัวอยู่เสมอ...เพราะถ้าพลาด...ย้ำอีกครั้ง...ถ้าพลาด...เพื่อนๆ ที่ทำงานในกระบวนการท้ายๆ คงต้องยืนตบยุงรออย่างแน่นอน....


ความเสี่ยงจุดที่สองคือ..."คอขวด"...ไม่ได้ชวนดื่มนะครับ...แต่หมายถึง จุดที่ความสามารถของกระบวนการผลิตทั้งหมด ต้องขึ้นอยู่กับจุดนี้เท่านั้น...กระบวนการไหนจะเก่งกาจเพียงใด ต้องมารอตรงนี้ เพราะว่า..."เค้าทำได้แค่นี้แหล่ะ"...ถ้าจุดนี้พลาดขึ้นมาเมื่อไหร่..เป็นอันหยุดทั้งขบวน...

ความเสี่ยงจุดที่สามคือ..."กระบวนการที่มีตัวเดียวอันเดียว"...เช่น...เครื่องจักรเครื่องเดียว...สายการผลิตเดียว...มีคนคุมเครื่องเป็นอยู่คนเดียว...เครื่องจักรมีเยอะ แต่บริษัทที่ขายเจ๊งไปแล้ว...อะไหล่มีแหล่งเดียวไม่มีแหล่งจัดหาสำรอง...เหล่านี้...คงทำให้เห็นภาพชัดขึ้นนะครับว่า...จะเกิดอะไรขึ้น....ถ้าเครื่องจักรเสีย...คนคุมเครื่องป่วย...สายการผลิตหยุด....เสียหายมหาศาลเลยแน่นอน...

ทางแก้ที่มักจะใช้สำหรับการผลิตแบบต่อเนื่องคือ..."มีให้เพียงพอ"...เช่น มีหลายๆ สายการผลิต...มีเครื่องจักรหลายเครื่องสลับกันทำงาน...สร้างคนคุมงานที่มีประสิทธิภาพหลายๆ คน....หาแหล่งจัดหาอะไหล่สำรอง...เก็บอะไหล่ที่สำคัญไว้บ้าง...เหล่านี้สามารถแก้ปัญหาได้ทั้งเรื่องการผลิตที่ไม่ต่อเนื่อง...ลดคอขวดในสายการผลิต...และลดความเสี่ยงเรื่องตัวเดียวอันเดียว....

คราวหน้ามาว่ากันเรื่อง "การผลิตแบบเป็นชุด (Batch Process)" กันครับ...

[Go to Risk Survey Content]

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น