วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

[19] การติดตั้งถังดับเพลิงนั้น สำคัญไฉน (Portable Fire Extinguisher)

ขึ้นชื่อว่าถังดับเพลิง (Portable Fire Extinguisher) ก็คงพบเห็นกันได้ทั่วไป แต่จะมีใครสงสัยบ้างมั้ยครับ ว่าทำไมมันต้องอยุ่ตรงนี้ ทำไมต้องอยู่ตรงนั้น ? เอ๊ะ! ยังไง..

การติดตั้งถังดับเพลิง (Portable Fire Extinguisher) นั้นมันมีมาตรฐานการติดตั้งอยู่ครับ อ้างอิงตาม วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท) หรือว่า National Fire Protection Association (NFPA) ก็เหมือนกัน อธิบายได้คร่าวๆ ดังนี้ครับ (ผมสรุปตามความเข้าใจนะครับ ถ้าอ้างอิงตามมาตรฐานจริงๆ เดี๋ยวจะยาว)

- ควรติดตั้งอยู่ใกล้กับทางออก ซึ่งสามารถหยิบใช้ได้โดยง่าย
- กรณีติดแบบแขวนผนัง ความสูงจากพื้นถึงส่วนด้ามจับ หรือส่วนบนสุดของถัง ควรจะไม่เกิน 1.2 เมตร เพื่อการหยิบเอามาใช้งานได้ง่ายครับ..สูงไปเดี๋ยวจะเอื้อมไม่ถึง
- ถ้าวางกับพื้น ควรมีฐานรองเพื่อยอกสูงจากพื้นประมาณ 30 เซนติเมตรครับ เพื่อการหยิบจับที่ง่ายเช่นกัน
- จุดติดตั้งถังดับเพลิงควรมีป้ายบอกตำแหน่งชัดเจน สะท้อนแสงได้ยิ่งดี เผื่อไฟดับจะได้มองเห็นได้
- พื้นที่ใช้งานของแต่ละถังจะครอบคลุมอยู่ที่ประมาณ 100 ตารางเมตร พื้นที่ไหนหรือชั้นไหนมีพื้นที่เท่าไหร่ก็หารเอาครับ จะได้จำนวนถังดับเพลิง (Portable Fire Extinguisher) โดยประมาณ
- การเข้าถึงถังดับเพลิง (Portable Fire Extinguisher) ควรมีระยะไม่เกิน 23 เมตร หรือ 75 ฟุต เพื่อที่กรณีฉุกเฉิน จะได้เข้าถึงและใช้งานได้อย่างรวดเร็ว อันนี้ไม่ได้คิดในแนวตรงนะครับ คิดตามทางเดินจริงๆ ของพื้นที่นั้นๆ
- การติดตั้งถังดับเพลิง (Portable Fire Extinguisher) ไม่ควรมีอุปกรณ์หรือส่ิงกีดขวางใดๆ มาบังทำให้ไม่สามารถใช้งานได้
- ควรมีป้ายติดเพื่อลงบันทึกการตรวจสอบคุณภาพของถัง เพื่อยืนยันว่าถังดับเพลิง (Portable Fire Extinguisher) ยังสามารถใช้งานได้ตามปกติ

จริงๆ มีอีกนะครับ ผมสรุปมาให้แค่ในส่วนที่พบเห็นกันประจำ ซึ่งก็อีกนั่นแหล่ะครับ ผมก็เจอประจำเช่นกัน ไปสำรวจภัยที่ไหน เจอที่นั่น ไม่เรื่องใดก็เรื่องหนึ่งเช่น

- วางถังดับเพลิง (Portable Fire Extinguisher) บนพื้นบ้าง
- ติดตั้งถังดับเพลิง (Portable Fire Extinguisher) แต่ไม่มีป้ายบอกตำแหน่ง
- มีป้ายบอกครับ แต่ว่าไม่มีถังดับเพลิง
- มีถัง มีป้ายบอกตำแหน่ง แต่ไม่มีป้ายตรวจสอบ
- มีครบทั้งหมดครับ แต่โดนกองสินค้าวางบังอยู่...แล้วจะใช้งานยังไงผมยังนึกไม่ออกเลยครับ


และอื่นๆ อีกหลายสาเหตุที่ทำให้ไม่สมารถใช้งานถังดับเพลิง (Portable Fire Extinguisher) ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ...อย่าลืมนะครับว่าเจ้าถังดับเพลิง (Portable Fire Extinguisher) นี่ถึงแม้มันจะดูเกะกะ แต่ถ้าฉุกเฉินขึ้นมาล่ะก็...มันเป็นอุปกรณ์ดับเพลิงชิ้นแรกที่เราต้องนึกถึงเลยล่ะครับ...แบบนี้แล้วก็ต้องดูแลกันดีๆ หน่อย...จะได้พร้อมใช้งานได้ตลอดเวลาครับ..

2 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคุณครับสำหรับข้อมูลดีๆ
    ขอเพิ่มเติมนิดนึง ในกรณีที่เป็นโรงงานอุตสาหกรรม ให้ดู ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การป้องกันและระงับอัคคีภัยในโรงงาน พ.ศ.2552

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ขอบคุณสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม จะได้เก็บไว้อ้างอิงครับ

      ลบ