วันพุธที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

[21] ความเสี่ยงในโรงงานผลิตเอทานอล (Ethanol Manufacturing Risk)

เอทานอล (Ethanol, Ethyl Alcohol) เป็นอะไรที่ต้องพูดถึงกันมาก หลังจากที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการผลิตน้ำมันชนิดแก๊สโซฮอล์ (Gasohol) หรือน้ำมันผสมแอลกอฮอล์นั่นเอง เห็นได้ชัดครับว่า ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาได้มีการตั้งโรงงานผลิตเอทานอลขึ้นมากมาย เพื่อรองรับกับความต้องการของตลาด โดยเฉพาะกลุ่มโรงงานที่ผลิตน้ำตาล ที่จะได้กากน้ำตาลเป็นผลิตภัณฑ์สุดท้าย ซึ่งสามารถนำไปผลิตเป็นเอทานอลได้นั่นเอง

กระบวนการผลิตเอทานอลก็ไม่ยุ่งยากครับ ดูได้จากภาพด้านล่างได้เลย 


อธิบายได้คร่าวๆ ว่า เมื่อเรานำกากน้ำตาล (Molasses) มาทำการหมัก (Fermentation) กับยีสต์ ที่ทำการเพาะเชื้อมาเรียบร้อย ตรงนี้จะผสมน้ำเข้าไปด้วย น้ำตาลจะเปลี่ยนเป็นแอลกอฮอล์ ซึ่งตรงนี้จะได้ความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ประมาณ 20% และเมื่อผ่านกระบวนการกลั่น (Distillation) ในหอกลั่น อาจจะหนึ่งหอกลั่นหรือว่าสองหอกลั่น แล้วแต่เทคโนโลยี เราจะได้แอลกอฮอล์ที่ความเข้มข้น 95% แต่ยังนำไปใช้ไม่ได้นะครับ ต้องผ่านกระบวนการแยกน้ำ (Dehydration) อีกครั้งจนได้ความเข้มข้นที่ 99.5% ก่อนที่จะนำไปจัดเก็บในถัง (Storage Tank) และจำหน่ายต่อไป ซึ่งกระบวนการทั้งหมดนี้จะถูกควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ล้วนๆ เช่น ระบบ DCS (Distribution Control System) เป็นต้น กำลังการผลิตก็ว่ากันที่ 100,000 ลิตรต่อวันขึ้นไปครับ ต่ำกว่านี้คงไม่คุ้มค่ากับการลงทุน


จากกระบวนการทั้งหมดนี้เอง ความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดอันตรายอยู่ตรงไหนบ้าง เรามาดูกันครับ ไบ่มาตั้งแต่ต้นกระบวนการเลย

- ในส่วนกระบวนการหมัก ก็ต้องควบคุมเรื่องวัตถุดิบให้ดีครับ อย่าให้ได้ขาดหรือว่าไม่ได้คุณภาพ โดยเฉพาะยีสต์หรือหัวเชื้อที่ผสมเข้าไป

- การกลั่น ตรงนี้ก็ต้องระวังเรื่องอุณหภูมิและความดันในระบบครับ ต้องติดตามดูค่าต่างๆ ให้ดี รวมถึงต้องหมั่นทดสอบอุปกรณ์ความปลอดภัยต่างๆ เช่น วาลว์ลดแรงดัน (Safety relief valve) การควบคุมไอน้ำที่เป็นแหล่งความร้อน เป็นต้น จุดนี้สำคัญมากครับ ลองนึกภาพว่าในหอกลั่นมีแต่แอลกอฮอล์ซึ่งเป็นสารไวไฟ แล้วถ้าเกิดความดันหรือว่าอุณหภูมิเกินค่ากำหนดขึ้นมา อาจทำให้เกิดการระเบิดได้ครับ ส่วนแรงระเบิดและระยะทำการ ก็คงกระจายไปทั่วอาณาบริเวณใกล้เคียง เท่าที่มันจะกระจายไปได้แหล่ะครับ นิวเคลียร์ลูกเล็กๆ เลยก็ว่าได้

- การจัดเก็บ ถีงแม้ว่าจะเก็บในถังอย่างดี แต่ถังพวกนี้ก้ต้องได้มาตรฐานและมีการตรวจสอบคุณภาพอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเรื่องความหนาของถัง เซ็นเซอร์วัดระดับ Safety Valve ระบบน้ำดับเพลิง ระบบโฟมดับเพลิง ซึ่งต้องพร้อมใช้งานได้ในกรณีฉุกเฉินตอลดเวลาครับ

- การบรรจุลงในรถบรรทุกเพื่อจำหน่าย นี่ก็ต้องตรวจสอบเรื่องของระบบสายดิน ที่ต้องต่อทุกครั้งก่อนถ่านเทแอลกอฮอล์ เพราะว่าการถ่ายโอนของเหลวพวกนี้จะเกิดไฟฟ้าสถิตย์ ซึ่งก็ไม่ถูกกับสารเคมีไวไฟมากอย่างแอลกอฮอล์เท่าไหร่ ระบบสายดินนี้ต้องต่อสัญญาณไปแจ้งเตือนที่ห้องควบคุมกันเลยนะครับ ถ้าไม่ต่อก็บรรจุไม่ได้ เพราะหากเกิดเหหตุขึ้นมา แค่ครั้งเดียวก็วอดทั้งโรงงานล่ะครับ...

- การบรรจุเอทานอลใส่รถขนส่ง ต้องมีการผสมน้ำมันเบนซินลงไปด้วยนะครับ แต่แค่ปริมาณเล็กน้อยเท่านั้น เพื่อป้องกันการนำเอทานอลไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ ตรงนี้เป็นข้อกำหนดของสรรพากรเลยครับ ไม่ทำไม่ได้เด็ดขาด น้ำมันเบนซินเลยกลายเป็นจุดที่ต้องระมัดระวังเพิ่มเข้ามา เช่น การจัดเก็บ การขนถ่าย การเติม ซึ่งก็ต้องระวังไม่ต่างจากเอทานอลเท่าไหร่

นอกจากนี้ยังมีส่วนสำคัญเพิ่มเติมด้วยครับ ยกตัวอย่างได้ตามนี้เลย
- การตรวจสอบอุปกรณ์ดับเพลิง ซึ่งต้องพร้อมใช้งานตลอดเวลา ต้องมีการทดสอบ ตรวจสภาพอยู่เป็นประจำ

- แผนฉุกเฉินต่างๆ เช่น แผนอพยพ แผนผจญเพลิง ซึ่งต้องมีการซ้อมอยู่เป็นประจำเช่นกัน หากเกิดเหตุขึ้น จะได้ไม่ต้องยืนตกใจ จนทำอะไรไม่ถูกไงครับ

- ระบบไฟฟ้า อุปกรณ์สำคัญต่างๆ ก็ต้องตรวจสอบภายใต้แผนการบำรุงรักษาเครื่องจักร ตรงจุดนี้ต้องรู้ครับว่าอุปกรณ์ตัวไหนสำคัญขนาดไหน ต้องมีไฟสำรองหากเกิดไฟดับหรือเปล่า

- การจราจรภายในโรงงานก็ต้องจัดให้ดีครับ อย่าได้วิ่งกันมั่วเลยเชียว โดยเฉพาะบริเวณหอกลั่นที่มีไอของแอลกอฮอล์อยู่เต็มไปหมด

- และที่สำคัญที่สุดคือ การควบคุมการทำงานที่เกี่ยวกับความร้อน (Hot Work Permit) ครับ อย่าให้ได้พลาดเลยในเรื่องนี้ ... ทีเดียวอยู่...

ที่เขียนมาทั้งหมดนี้ เป็นตัวอย่างที่อยากให้เห็นถึงความเสี่ยงที่ต้องคำนึงถึง ซึ่งอยากให้มีการระมัดระวังกันเป็นพิเศษครับ เพราะว่าโรงงานผลิตเอทานอล ถือได้ว่าเป็นภัยที่มีระดับความเสี่ยงภัยในเกณฑ์สูงมาก ในวงการธุรกิจประกันภัยครับ

ข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องเอทานอล สามารถศึกษาได้ตามลิงค์เลยครับ >>> Vchakarn.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น