วันเสาร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2554

[17] ไฟไหม้โรงงานประกอบรถยนต์นิสสัน!

วันนี้ขออินเทรนด์หน่อยนะครับ เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2554 ที่ผ่านมา เกิดเหตุเพลิงไหม้กองเศษวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว ภายในบริเวณโรงงานประกอบรถยนต์นิสสัน ถ.บางนา-ตราด จุดเกิดเหตุเป็นที่เปิดโล่ง และเป็นลานกว้างเพื่อวางกองเศษวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว เช่น ชิ้นงานที่ไม่ได้คุณภาพ พลาสติก ลังไม้ต่างๆ เป็นต้น ...หลังจากได้รับแจ้งเหตุ รถดับเพลิงก็เข้ามาทำการดับเพลิงได้อย่างทันท่วงที ไฟไม่มีการลุกลามสร้างความเสียหายให้กับบริเวณข้างเคียง ความเสียหายก็ไม่มากนัก เพราะว่าเป็นเศษวัสดุอย่างที่รายงาน

 ตัวอย่างข่าวที่เกี่ยวข้องครับ>>>เดลินิวส์, INN

มันเกิดขึ้นได้ยังไง? เป็นคำถามแรกที่เกิดขึ้นหลังจากทราบข่าวครับ เป็นแค่กองเศษวัสดุ แล้วมันจะเกิดเพลิงไหม้ได้ยังไง ..ต้องมีสาเหตุสิน่า..เรามาวิเคราะห์กัน


มาดูองค์ประกอบกันก่อน กองเศษวัสดุที่ว่านี้ล้วนเป็นวัสดุติดไฟ (Combustible Material) ได้ทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็น ไม้ พลาสติก หรือเศษวัสดุอื่นๆ เห็นเป็นควันดำๆ นั่นก็น่าจะมียางด้วยนะ...แล้วไฟมาจากไหน?

ลองสันนิษฐานดู น่าจะมาจากสาเหตุเหล่านี้ครับ
  • มีการทำงานที่เกี่ยวกับความร้อน (Hot work) เช่น งานตัดเหล็ก (Cutting) เชื่อมเหล็ก(Welding) ในบริเวณใกล้เคียง แล้วประกายไฟกระเด็นเข้าไปในกองเศษวัสดุ ความร้อนค่อยๆ เพิ่มขึ้นจากการเริ่มไหม้ของวัสดุ จนเกิดเพลิงไหม้ได้
  • มีพวกแอบสุบบุหรี่ใกล้ๆ แล้วทิ้งก้นบุหรี่เข้าไปในกองเศษวัสดุนั้น...เอากันอย่างนี้เลยล่ะ
  • กองวัสดุมีการสะสมของความร้อนสูงจนเกิดไฟลุกไหม้ได้เอง..ซึ่งกรณีนี้ต้องผมว่าต้องมีสารเคมีไวไฟหรือติดไฟง่ายเข้ามาประกอบ และความร้อนต้องสูงมากๆ ...น่าจะเป็นไปได้ยากเอาการ เพราะช่วงนี้สภาพอากาศก็ไม่ได้ร้อนจัดขนาดนั้น
ก็เลยกลายเป็นว่า สองสาเหตุแรกน่าจะเป็นไปได้มากที่สุด แต่ส่วนตัวผมเองให้น้ำหนักกับข้อแรกนะครับ ก็คืองานที่เกี่ยวกับความร้อน (Hot work) ... ส่วนกรณีที่สองให้น้ำหนักน้อยหน่อย เพราะต้องให้เครดิตเรื่องมาตรการควบคุมการสูบบุหรี่ในโรงงาน ซึ่งโรงงานระดับนี้ต้องเข้มงวดพอสมควร

งานที่เกี่ยวกับความร้อน (Hot work) ..ก่อนเข้าปฏิบัติงานไม่ว่าจะพนักงานของตนเอง หรือว่าของผู้รับเหมา ก็ต้องมีการขออนุญาตก่อนทุกครั้ง พร้อมกับเอกสารขออนุมัติ (Hot work permit form) โดยมีเงื่อนไขที่สำคัญคือ
  • ขอทำงานกันวันต่อวันในช่วงเวลางาน ถ้าไม่เสร็จก้มาต่อใหม่วันรุ่งขึ้น
  • ต้องมีอุปกรณ์ดับเพลิงที่จำเป็นและเหมาะสมอยู่ในพื้นที่ทำงานทุกครั้ง
  • อุปกรณ์ความปลอดภัยส่วนบุคคลต้องพร้อม
  • มีการแบ่งพื้นที่ทำงานชัดเจน ปราศจากวัสดุติดไฟหรือไวไฟในพื้นที่
  • ต้องมีการควบคุมการทำงานอย่างเคร่งครัด (Fire Watchman)
  • หลังจากทำงานเสร็จแล้ว ต้องมีการตรวจพื้นที่หลังจากเสร็จงานซ้ำอีกครั้งโดยทิ้งช่วงประมาณ 30 นาทีเป็นอย่างน้อย
  • เอกสารการขอนุญาตการทำงานที่เกี่ยวกับความร้อน (Hot work permit form) ต้องมีการรับทราบทั้งผู้ปฏิบัติงาน เจ้าของงาน เจ้าของพื้นที่ และที่สำคัญจะขาดไม่ได้เลยก็คือ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย หรือผู้ที่มีอำนาจสั่งการ
ดูมันยุ่งยากจังเลยนะครับ แต่มันก็ทำให้การทำงานมีความปลอดภัย และมีความเสี่ยงน้อยที่สุด

งานที่เกี่ยวกับความร้อน (Hot work) นี่สำคัญมากเลยนะครับ ไม่ว่าโรงงานหรืออาคารไหนๆ มีตัวอย่างให้เห็นกันเยอะแยะ คนที่ทำงานเกี่ยวกับพวกสารเคมีไวไฟ ก็อาจจคุ้นเคยกันดี เพราะเรื่องการทำงานที่เกี่ยวกับความร้อนนี่จะพลาดไม่ได้เลย แม้แต่ครั้งเดียว ถ้าพลาดก็อาจจะหมายถึงสูญเสียไปทั้งโรงงานเลยก็ได้นะครับ และเรื่องการทำงานที่เกี่ยวกับความร้อน (Hot work) ยังเป็นเรื่องที่ถูกถามถึงอยู่เสมอๆ ในการสำรวจภัย (Risk Survey) ทุกครั้งครับ ถ้าไม่ได้ถามนี่เหมือนกับทำงานไม่เสร็จกันเลยล่ะครับ...

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น