
- ระบบน้ำดับเพลิง และเครื่องสูบน้ำดับเพลิง (Fire water and Fire pump system)
- ถังดับเพลิง (Fire Extinguisher)
- หัวจ่ายน้ำดับเพลิงและสายฉีดน้ำดับเพลิง (Fire hose connection and
Fire hose reel)
- ระบบสัญญาณเตือนภัย เช่น แบบมือกด, ทุบ,ดึง, อุปกรณ์ตรวจจับควัน-ความร้อน อัตโนมัติ) (Fire Alarm system)
- ตู้รับสัญญาณเติอนภัย ( Fire Alarm Control Panel)
- และระบบอื่นๆ ที่ติดตั้งเพิ่มเติม เช่น ระบบแก๊สดับเพลิงอัตโนมัติ เป็นต้น
ทั้งนี้ระบบพวกนี้เราต้องรู้ข้อมูลว่า มีการติดตั้งที่เพียงพอหรือไม่ ทำงานได้ตามปกติหรือเปล่า ดูแลมันดีมั้ย มีรอบการตรวจสอบยังไงบ้าง และมั่นใจได้ยังไงว่ายังทำงานได้ตามปกติ
ระบบป้องกันอัคคีภัยเป้นจุดที่สำคัญมากเลยนะครับ แต่เชื่อมั้ยครับว่า มันเป็นจุดที่มีการติดตั้งที่เพียงพอและถูกต้อง รวมไปถึงมีการดูแลรักษาที่ดีน้อยมากๆ ในบ้านเรา ทั้งนี้ก็เนื่องจากมักจะถูกคิดว่าติดตั้งแล้วก็จบกัน ส่วนการดูแลรักษานั้น ชั้นไม่รู้หรอก หรือว่าไม่มีการแนะนำที่ถูกต้องเพื่อความมั่นใจว่ามันยังใช้การได้....
ผมยกตัวอย่างง่ายๆ นะครับ อย่างเราเข้าไปในห้าง เคยสังเกตุอุปกรณ์แจ้งเหตุฉุกเฉินอันสีแดงๆ มั้ยครับ? มันจะถูกใช้ก็ต่อเมื่อมีเหตุฉุกเฉินเท่านั้น แต่เราจะรู้ได้ไงว่ามันยังใช้การได้ หากเกิดเหตุขึ้นมาแล้วไปกด แต่พวกดันไม่มีสัญญาณไปแจ้งศูนย์บัญชาการซะอย่างงั้น ... แล้วมันจะมีประโยชน์อะไรล่ะครับ...อันนี้ตัวอย่างหนึ่ง
อีกอันหนึงครับ เจอกันบ่อยๆ เลย คือ เครื่องสูบน้ำดับเพลิง ที่ต้องทำงานอัตโนมัติเพื่อสูบน้ำเข้าท่อไปยังหัวจ่ายน้ำเพื่อดับเพลิง....แต่เจ้ากรรม ตั้งแต่ติดตั้งมาไม่เคยมีใครสนใจมันเลย เลยถูกปิดระบบไว้ ถ้าจะใช้ค้อยมาเปิดเอา แต่ขอถามกหลับครับว่า ถ้าเปิดแล้วไม่ติด จะดับเพลิงได้ทันมั้ย..? หรือถึงมาเปิดเอง จะทันการณ์หรือเปล่า ไฟมันจะไฟม้ไปถึงไหนต่อไหนแล้วล่ะครับ? อย่าลืมนะครับว่า ไฟไหม้นี่เพียงแค่ไม่กี่นาทีก็สร้างความเสียหายมหาศาลได้เลยนะครับ....
เพราะฉะนั้น ไม่ว่ายังไงก็ตาม...ระบบป้องกันอัคคีภัยนี้ ถึงแม้ไม่อยากใช้มันเอาซะเลย แต่ต้องดูแลมันเป็นอย่างดีครับ พร้อมใช้ตลอดเวลา เพราะเราไม่รู้ว่าจะต้องใช้มันเมื่อไหร่เท่านั้นเอง...
GOOD
ตอบลบขอบคุณครับ;)
ตอบลบ