วันพฤหัสบดีที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2557

[32] สำรวจภัยบทที่ 1 - "ทำเลที่ตั้ง" นั้น...สำคัญมิใช่น้อย

การสำรวจภัยโพสต์นี้เรายังอยู่กับ "ข้อมูลทั่วไป" ของภัยที่เราสำรวจนะครับ...แต่จะขอขยายความส่วนของ "ทำเลที่ตั้ง" ที่เคยเสนอไปในโพสต์ [29] สำรวจภัยบทที่ 1 - ข้อมูลทั่วไปของภัยเราสำรวจ


ข้อมูล "ทำเลที่ตั้ง" บ่งบอกเราได้ 3 อย่างหลักๆ แต่ว่ามีความสำคัญยิ่งคือ

1. ความเสี่ยงจากภัยรอบข้าง - เคยสังเกตุกันมั้ยครับว่ารอบๆ ภัยที่เราสำรวจ หรือว่าบริษัทที่ทำงานอยู่...มีใครเป็นเพื่อนบ้านบ้าง?...ถ้ายัง...ลองหาข้อมูลต่อไปนี้ครับ...แล้วลองประเมินความเสี่ยงดูว่าอยู่ในระดับไหน

  • ภัยรอบข้างทำธุรกิจอะไร?
  • มีกระบวนการผลิตไหนที่อันตรายหรือเปล่า?
  • มีสารเคมีอันตรายอะไรบ้าง? เก็บไว้ตรงไหน? มีการจัดเก็บดีเพียงพอหรือไม่?
  • ระยะห่างระหว่างกันมากน้อยแค่ไหน?
  • แนวที่อยู่ติดกับรั้วของเราเค้าจัดเก็บอะไร? เช่น วัสดุติดไฟ ไวไฟ อาคารผ้าใบเก็บสินค้าชั่วคราว เป็นต้น
  • ...ใครคิดต่อยอดได้อีกก็เยี่ยมเลยครับ...
2. ความเสี่ยงที่มีต่อภัยรอบข้าง - ตรงนี้เราจะพูดถึงอันตรายจากเราที่มีต่อคนอื่นบ้าง...ลองหาข้อมูลดูนะครับ...
  • มีกระบวนการผลิตไหนของเราที่อันตรายหรือเปล่า?
  • มีสารเคมีอันตรายอะไรบ้าง? เก็บไว้ตรงไหน? มีการจัดเก็บดีเพียงพอหรือไม่?
  • ระยะห่างระหว่างกันมากน้อยแค่ไหน?
  • แนวที่อยู่ติดกับรั้วของเค้าเราจัดเก็บอะไร? เช่น วัสดุติดไฟ ไวไฟ อาคารผ้าใบเก็บสินค้าชั่วคราว เป็นต้น
  • ...ใครคิดต่อยอดได้อีกก็เยี่ยมเลยครับ...สรุปก็คล้ายๆ กันนั่นแหละครับ...ก็ดูความเสี่ยงที่มีต่อกัน...ก็ต้องประเมินคล้ายๆกัน...
3. ภัยธรรมชาติ - เคยสังเกตุกันบ้างมั้ยครับ? ถ้าไม่เคยหรือมีการวิเคราะห์แบบจริงจัง..ลองดูครับว่าเราจะประเมินความเสี่ยงอะไรบ้าง
  • ฝน - ประมาณน้ำฝน, ช่วงเวลาที่ฝนตก, ความรุนแรงของลมพายุ, โครงสร้างอาคาร
  • น้ำท่วม - ระดับของพื้นดิน, ระดับของอาคาร, แผนป้องกันน้ำท่วม, แผนอพยพ, แผนป้องกันธุรกิจหยุดชะงัก, การติดตามข่าวสาร
  • ฟ้าผ่า - ปริมาณและความรุนแรงในแต่ละปี, การป้องกันของอุปกรณ์ไฟฟ้า, ระบบป้องกันฟ้าผ่า
  • ลูกเห็บ - โซนทางเหนือ-อีสาน จะมีข่าวทุกปี
  • ดินทรุด/สไลด์ - ถึงไม่ใช่ภัยธรรมชาติโดยตรง แต่ก็ต้องระวังครับ
  • ...ใครคิดต่อยอดได้อีกก็เยี่ยมเลยครับ..
คำถามพวกนี้...สงสัยไว้ก่อนนะครับ..ประเมินจากที่เรารู้ "ทำเลที่ตั้ง" แล้วจดไว้ก่อน...เราจะได้สามารถพุ่งเป้าความเสี่ยงได้ถูกจุด...แล้วค่อยขยายผลต่อทีหลัง....

กรณีศึกษา
  • ภัยอยู่ริมทะเล พื้นดินทรุดลงไปกว่า 1 เมตร ต้องเดินท่อน้ำดับเพลิงบนดินใหม่หมดเพราะว่าเดิมฝังอยู่ใต้ดิน
  • ภัยตั้งอยู่โซนจังหวัด ปราจีนบุรี, ชลบุรี, ระยอง จะมีกรณีฟ้าผ่าบ่อยๆ อุปกรณ์ไฟฟ้าเสียหายประจำ
  • ภัยที่ตั้งอยู่แนวที่ราบลุ่มแม่น้ำต่างๆ มักจะมีความเสียหายจากน้ำท่วม
  • ภัยที่อยู่ข้างๆ เก็บสารเคมีไวไฟปริมาณมหาศาลตั้งอยู่ติดกับแนวรั้ว ระยะห่างไม่เกิน  10 เมตร...แต่ที่ไม่มีการซักซ้อมแผนฉุกเฉินร่วมกันมาก่อน
  • ภัยข้างๆ ตั้งเต็นท์เก็บสินค้าชั่วคราวติดแนวรั้ว ระยะห่างไม่เกิน 5 เมตร...มีความเสี่ยงที่จะเป็นเชื้อเพลิงให้ไฟลุกลามข้ามมาได้ เช่น พาเลทไม้ กล่องกระดาษ 
  • สองภัยตั้งอยู่ในพื้นที่เดียวกัน ไม่มีรั้วกั้น ระยะห่างไม่เกิน 10 เมตร แต่มีสารเคมีอันตรายรุนแรง...มีการร่วมกันซ้อมแผนฉุกเฉินที่เพียงพอ...รวมถึงแจ้งเตือนผู้ที่เข้ามาในพื้นที่ร่วมกันด้วย...

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น