วันศุกร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

[52] สำรวจภัยบทที่ 8 - ระบบรักษาความปลอดภัย (Securities)



ทุกๆ สถานที่ต้องมีระบบนี้..."ระบบรักษาความปลอดภัย (Securities)"...

แต่ใช่ว่าทุกที่จะมีระดับความปลอดภัยที่่มีประสิทธิภาพเท่ากัน...บทความนี้ไม่ได้คาดหวังให้มีเหมือนกันทั้งหมด...แต่คงคาดหวังให้มีอย่าง "เหมาะสม" ในแต่ละธุรกิจ...

ข้อมูลที่สนใจในเรื่องของระบบรักษาความปลอดภัยได้แก่...

  • พนักงานรักษาความปลอดภัยมีกี่คน ทำงานกันกี่กะ กะละกี่คน
  • พนักงานรักษาความปลอดภัยเป็นของบริษัทเองหรือว่าจ้าง
  • ป้อมรักษาการณ์มีกี่จุด ที่ไหนบ้าง
  • การตรวจสอบคนเข้า-ออก และการเก็บข้อมูล
  • รอบการเดินตรวจพื้นที่ วิธีการตรวจตรา เช่น ลงบันทึก ใช้เครื่องอิเล็กทรอนิกส์
  • ประตูเข้าออกเรามีกี่จุด
  • มีพื้นที่ที่เป็นจุดบอดหรือไม่
  • การอบรมเบื้องต้นของพนักงานรักษาความปลอดภัยเป็นอย่างไร เช่น การสื่อสาร การใช้อุปกรณ์ดับเพลิง

วันพฤหัสบดีที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

[51] สำรวจภัยบทที่ 7 - พนักงาน (Employees)



"พนักงาน (Employees)" ....

เป็นคนขับเคลื่อนธุรกิจที่สำคัญมากๆ ... ถ้าดูแลกันไม่ดี...ธุรกิจก็จบครับ..

ข้อมูลเรื่องพนักงานที่ต้องสอบถามมีตามนี้ครับ...

  • จำนวนพนักงานในแต่ละแผนก (สำนักงาน, ฝ่ายผลิต, แรงงานต่างชาติ, ซ่อมบำรุง, และอื่นๆ)
  • การแบ่งกะทำงานและจำนวนพนักงานในแต่ละกะ
ข้อมูลนิดหน่อยครับ..ไม่ยากเกินเก็บกันใช่มั้ยครับ...

มาวิเคราะห์เบื้องหลังที่ซ่อนอยู่....ใครเคยเจอเรื่องเหล่านี้กันบ้างครับ...

วันพุธที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

[50] สำรวจภัยบทที่ 6 - แผนผังอาคาร (Layout)

"แผนผังอาคาร (Layout)" ทำให้เห็นภาพรวมของอาคารต่างๆ ของบริษัทหรือภัยที่ทำการสำรวจว่ามีการจัดเรียงอาคารอย่างไร มีความสัมพันธ์กันอย่างไร หรือระยะห่างระหว่างอาคารมีมากน้อยแค่ไหน


การพิจารณาความเสี่ยงเรื่องแผนผังอาคาร (Layout) สรุปหลักๆ ได้ดังต่อไปนี้ครับ

1. ความเสี่ยงจากการลุกลามของไฟ - อาคารที่ติดกันหรือมีระยะห่างระหว่างอาคารน้อยเกินไป ซึ่งส่วนใหญ่จะกำหนดที่น้อยกว่า 15 เมตร สำหรับโครงสร้างแบบไม่ติดไฟ หากเกิดเหตุเพลิงไหม้ ไฟอาจจะลุกลามไปยังอาคารข้างเคียงได้ หรือสร้างความเสียหายจากรังสีความร้อนที่แผ่ออกมา....

ดังนั้นระยะห่างที่เพียงพอจึงเป็นเรื่องสำคัญ...แต่ส่วนใหญ่จะแก้ไขได้ยากเพราะเป็นการออกแบบไว้ตั้งแต่เริ่มสร้างอาคาร ดังนั้นสิ่งสำคัญคือ "การจำกัดพื้นที่การลุกลามของไฟ" ให้ได้ ...เช่น ใช้โครงสร้างไม่ติดไฟ ติดตั้งผนังกันไฟ หลีกเลี่ยงการวางวัสดุติดไฟระหว่างอาคารซึ่งสามารถเป็นสะพานไฟลุกลามไปยังอาคารต่างๆ ได้

วันพฤหัสบดีที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

[49] Loss Video: Fire&Explosion - Inferno Dust Explosion at Imperial Sugar


Reference : Youtube - Inferno Dust Explosion at Imperial Sugar

[48] สำรวจภัยบทที่ 5 - โครงสร้างอาคาร

"โครงสร้างอาคาร"....ในการสำรวจภัยเราจะแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ ได้แก่

1. โครงสร้างแบบ A - ได้แก่ โครงสร้างที่ประกอบด้วยวัสดุติดไฟไม่เกิน 25%
2. โครงสร้างแบบ B - ได้แก่ โครงสร้างที่ประกอบด้วยวัสดุติดไฟไม่เกิน 50%
3. โครงสร้างแบบ C - ได้แก่ โครงสร้างที่ประกอบด้วยวัสดุติดไฟมากกว่า 75%

อาจจะดูไม่ค่อยเหมือนกับมาตรฐานที่ใช้กันทั่วไปที่มีการแบ่งแยกย่อยลงไปอีก...ยิ่งละเอียด ยิ่งดี...ลองดูของ FM Global Data Sheet ที่เค้ารวบรวมมาจากหลายๆ มาตรฐานดูครับ...

Reference: FMDS0101 Fire Safe Building Construction and Materials (April 2012)

การที่ "โครงสร้างอาคาร" ในการสำรวจภัยแบ่งเป็นแค่ 3 กลุ่ม ก็เนื่องจากเราจะพิจารณาถึง "ความสามารถในการป้องกันไฟ"  หรือในทางกลับกันจะพูดว่า "ความสามาถในการลุกลามของไฟ" ก็ได้...

โครงสร้างที่จะนำมาพิจารณานั้น...ก็มีทั้ง

วันอังคารที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

[47] Loss Video : Fire-Rhode Island - Station Nightclub Fire (Including Inside Dramatization)


Reference : Youtube - Station Nightclub Fire (Including Inside Dramatization)

[46] สำรวจภัยบทที่ 4 - ความเสี่ยงจากภัยรอบข้าง (Surroundings Exposures)

เรื่องราวการสำรวจภัยตอนนี้ก็เดินทางมาถึงส่วนสำคัญที่ไปที่ไหนก็มักจะถูกมองข้ามไป...อย่างน้อยก็เท่าที่ผมพบเจอมา..."ความเสี่ยงจากภัยรอบข้าง (Surroundings Exposures)"...

ลองดูปัจจัยเหล่านี้...สำคัญหรือไม่ลองพิจารณาดูครับ....


กรณีศึกษาที่เคยเจอ...ลองดูตัวอย่างเหล่านี้ครับ

วันจันทร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

[45] Loss Video: Hot Work - Hot Work Hidden Hazards at Dupont


Reference : Youtube - Hot Work Hidden Hazards CSB hotwork dupont

[44] สำรวจภัยบทที่ 3 - ทำเลที่ตั้ง


ภาคกลางของประเทศไทยเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำ...น้ำท่วมเกิดขึ้นทุกปี...ใครอยู่แนวพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากก็รับกันไป...แต่ไม่มีให้ใครให้ความสนใจมากนัก...ในอดีต

จนกระทั่งอภิมหาน้ำท่วมใหญ่เมื่อหลายปีก่อน...ผู้คนก็เริ่มให้ความสนใจกับ "ทำเลที่ตั้ง" มากขึ้น...สนใจข้อมูลเรื่องความสูงจากระดับน้ำทะเล (Mean Sea Level - MSL) กันมากขึ้น...

ในทางการสำรววจภัยนั้น เรื่อง "ทำเลที่ตั้ง" เป็นส่วนที่เราจะหาข้อมูลเพื่อโยงไปยังความเสี่ยงในด้านต่างๆ ได้...แบ่งได้เป็น 2 หัวข้อใหญ่ๆ ได้แก่

วันอาทิตย์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

วันศุกร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

[42] สำรวจภัยบทที่ 2 - การขนส่งสินค้า

"การขนส่งสินค้า" .... เกี่ยวข้องกับการประเมินความเสี่ยงตรงไหน? ก็แค่ขนส่งสินค้า ไม่น่าจะมีตรงไหนอันตรายเลย...ลองมาดูตัวอย่างเหล่านี้กัน...ว่ากันไปตามขั้นตอนเลยนะครับ



สินค้าแต่ละประเภทก็ต้องการลักษณะการขนส่งและการประเมินความเสี่ยงที่แตกต่างกันไป...แต่จะมีพื้นฐานที่เหมือนกันก็คือ..."รถ" กับ "คน"....ถ้าช่วยกันควบคุมเรื่องนี้ได้..ก็ช่วยลดความเสี่ยงได้เยอะเลยครับ

อาจจะมีอีกหลายกรณีที่ไม่ได้ยกตัวอย่างไว้ในตาราง...แต่เชื่อว่ามีอยู่แน่ๆ...ลองเอามาแบ่งปันประสบการณ์กันได้นะครับ...

[Go to Risk Survey Content]

วันพฤหัสบดีที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

[41] สำรวจภัยบทที่ 2 - การจัดเก็บสินค้า

เมื่อการผลิตดำเนินมาถึงช่วงสุดท้าย..."การจัดเก็บสินค้า"...ที่ดูจะเป็นเรื่อง่ายๆ หากมองโดยผิวเผิน...แต่จงตระหนักเถอะครับ...นี่คือจุดที่สำคัญไม่แพ้เรื่องใดๆ เลย...

การเริ่มต้นประเมินความเสี่ยงของการจัดเก็บสินค้า ลองดูตัวอย่างตามตารางครับ


การจัดเก็บสินค้านี่แหละ...เป็นจุดที่มักจะมีอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิดอยู่เสมอ...ลองดูกรณีเหล่านี้...

วันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

[40] สำรวจภัยบทที่ 2 - ความสามารถในการผลิต

"ความสามารถในการผลิต" เป็นจุดที่หาข้อมูลเพื่อประเมินความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง การผลิตมากหรือน้อยมักจะมีผลกระทบทั้งในด้านที่ดีและไม่ดีเสมอ ลองมาดูความสัมพันธ์กัน...


ข้อมูลเหล่านี้สามารถต่อยอดลงไปในรายละเอียดได้และจำทำให้เราเข้าใจถึงความสามารถในการจัดการของบริษัทได้...โดยเฉพาะในปัจจุบัน ที่มักจะคิดถึงเรื่อง "ต้นทุนต่ำ" เอาไว้ก่อน ทางเลือกที่มักจะถูกเลือกก็เช่น ลดคนงาน ไม่เพิ่มคน ไม่ลงทุนเพิ่ม ใช้สิ่งที่มีอยู่ในปัจจุบันให้คุ้มค่ามากที่สุด...ทั้งๆ ที่มันอาจจะมีประสิทธิภาพดีกว่าถ้าเลือกที่จะทำ...

ความเสี่ยงที่เราจะโยงไปถึงจะมีทั้ง ความเสียหายทางธุรกิจ การจัดหาคนงาน การบำรุงรักษาเครื่องจักร  ไม่ว่าจะผลิตมากหรือน้อยก็มีผลกระทบทั้งนั้น...ก็ต้องดูตามสถาณการณ์...ว่าเราจะเจาะลงไปในเรื่องไหน...เพื่อที่จะประเมินความเสี่ยงให้เหมาะสม

[Go to Risk Survey Content]


วันจันทร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

[39] สำรวจภัยบทที่ 2 - กระบวนการผลิต ตอนที่ 3...ไม่มีการผลิตแต่เป็นงานบริหารจัดการ

ตัวอย่างงานบริการจัดการประเภทนี้ได้แก่ อาคารสำนักงาน ห้างสรรพสินค้า คอมมิวนิตี้มอลล์ โรงแรม คอนโดมิเนียม เหล่านี้ไม่มีการผลิต แต่ใช้การบริการจัดการเข้ามาดำเนินธุรกิจ

จุดที่เราใช้มาประเมินความเสี่ยงประกอบไปด้วย

1. เวลาที่เปิดให้บริการ - จะเป็นช่วงเวลาที่มีผู้มาใช้บริการเป็นจำนวนมาก ความพร้อมของพนักงานแผนกต่างๆ จึงเป็นเรื่อสำคัญที่สุด ไม่ว่าจะเป็น พนักงานขาย พนักงานทำความสะอาด ช่างบำรุงรักษา เจ้าหน้าที่ัรักษาความปลอดภัย ไม่เว้นแต่ผู้บริหารที่ต้องคอยตัดสินใจกรณีฉุกเฉิน

วันศุกร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

[38] สำรวจภัยบทที่ 2 - กระบวนการผลิต ตอนที่ 2...การผลิตแบบเป็นชุด

"การผลิตแบบเป็นชุด (Batch Process)" เป็นกระบวนการผลิตแบบที่มีการเก็บวัตถุดิบที่อยู่ระหว่างการผลิตเป็นช่วงๆ การผลิตเป็นแบบไม่ต่อเนื่อง สามารถหยุดการผลิตบางจุดได้โดยไม่มีผลกระทบต่อการผลิตทั้งหมดเพราะว่ามีวัตถุดิบเตรียมไว้อยู่แล้ว...เช่น งานแปรรูปเหล็ก การผลิตชิ้นส่วนพลาสติกบางชนิด การตัดเย็บเสื้อผ้า เป็นต้น

และเนื่องจากมีการเก็บวัตถุดิบระหว่างการผลิต...สิ่งที่ตามมาคือการเพิ่มขึ้นของปริมาณของสินค้าเก็บและพื้นที่...ตรงนี้คือจุดสำคัญ เนื่องจาก...

  • การน้ำใช้วัตถุดิบ - ถ้าบริหารจัดการไม่ดี ตัวไหนมาทีหลังออกก่อน...ระวังวัตถุดิบเสื่อมคุณภาพเพราะเก็บนานเกินไป
  • วัสดุติดไฟ/ไวไฟ - การจัดการพื้นที่สำคัญมากๆ ป้องกันการหกรั่วไหล ห่างไกลจากแหล่งความร้อน

วันพฤหัสบดีที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

[37] สำรวจภัยบทที่ 2 - กระบวนการผลิต ตอนที่ 1...การผลิตแบบต่อเนื่อง

"การผลิตแบบต่อเนื่อง (Continuous Process)" เป็นแบบที่มักจะเจอในหลายๆ โรงงาน การผลิตแบบนี้กระบวนการจะทำต่อกันไปเรื่อยๆ ตั้งแต่ต้นจนได้สินค้าออกมา บางครั้งอาจจะยาวไปจนถึงกระบวนการบรรจุและจัดเก็บเลยก็มี...ตัวอย่างการผลิตแบบต่อเนื่อง ยกตัวอย่างเช่น ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนพลาสติก ชิ้นส่วนยานยนต์ อาหาร โรงหลอมเหล็ก หรือแม้แต่การผลิตไฟฟ้า...

ประเด็นความเสี่ยงที่จะพูดถึงก็คือ..."ความต่อเนื่องของการผลิต"...เพราะการผลิตจะหยุดไม่ได้เลย หรือหยุดได้ก็คงแค่ชั่วคราว ไม่กี่นาทีหรือไม่กี่ชั่วโมง...ดังนั้นวัตถุดิบต้องป้อนเข้ามาอย่างเพียงพอ เครื่องจักรต้องพร้อมทำงาน ผู้ปฏิบัติงานต้องตื่นตัวอยู่เสมอ...เพราะถ้าพลาด...ย้ำอีกครั้ง...ถ้าพลาด...เพื่อนๆ ที่ทำงานในกระบวนการท้ายๆ คงต้องยืนตบยุงรออย่างแน่นอน....

วันพุธที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

[36] สำรวจภัยบทที่ 2 - การจัดเก็บวัตถุดิบ

ต่อเนื่องจากประเภทของวัตถุดิบ..ก็มาว่ากันเรื่อง "การจัดเก็บ"...ที่มีความสำคัญไม่น้อยเลยทีเดียว...


  • กลุ่มเที่เก็บในไซโล - ส่วนใหญ่จะบรรจุในไซโลนาดใหญ่แล้วลำเลียงไปตามท่อด้วยระบบลมเพื่อส่งต่อไปยังการผลิต...แบบนี้ต้องระวังเรื่องระบบสายดิน (Grounding) และขั้นตอนการขนถ่ายสินค้าจากรถขนส่งครับ...เพราะการเสียดสีของเส็ดพลาสติกจะทำให้เกิดไฟฟ้าสถิตย์ได้ เมื่อมาเจอกับฝุ่นของเม็ดพลาสติก ก็อาจจะเกิดการลุกใหม้ได้...
  • กลุ่มสารเคมี - การจัดเก็บที่เหมาะสมควรเป็นไปตาม Material Safety Data Sheet (MSDS) หรือเอกสารข้อมูลความปลอดภัยของวัสดุ หาได้ตามลิงค์เลยครับ >>> ศูนย์ข้อมูลวัตถุอันตรายและเคมีภัณฑ์ ... และโดยการจัดการโดยที่ทั่วไปที่เหมือนกันก็คือ ก่ารป้องกันการหกรั่วไหลที่เพียงพอ การแยกสารเคมีอันตรายที่ไม่ควรจัดเก็บไว้ใกล้กันในระยะอันตราย และระบบสายดิน (Grounding) ที่เหมาะสม 

วันอังคารที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

[35] สำรวจภัยบทที่ 2 - วัตถุดิบ

"วัตถุดิบ" ถ้าขาดสิ่งนี้ไป ก็ไม่สามารถเริ่มต้นการผลิตได้...เมื่อไม่มีจุดเริ่มต้น...ก็ไม่มีกิจกรรมใดๆ ตามมาโดยสิ้นเชิง...

สิ่งสำคัญสำหรับเรื่องวัตถุดิบในการประเมินความเสี่ยงนั้น มีเรื่องราวที่เกี่ยวข้องสำคัญอยู่ 2 เรื่อง...

1. ประเภทของวัตถุดิบ - อาจจะเป็น เม็ดพลาสติก พลาสติกเรซิ่น ตัวทำละลาย เหล็กม้วน เหล็กโครงสร้าง หรือ สารเคมีสังเคราะห์ เหล่านี้สิ่งที่ต้องสังเกตุก็คือ เป็นพวกวัสดุติดไฟ วัสดุไวไฟ กลุ่มโลหะ กลุ่มที่ห้ามโดนความชื้น กลุ่มที่ต้องเก็บในที่เย็น หรือกลุ่มที่มีความอันตรายเป็นพิเศษหรือเปล่า...

ถ้าเป็นพวกกลุ่มสารเคมี สิ่งที่ต้องมาพร้อมกับสินค้าเลยก็คือ Material Safety Data Sheet (MSDS) หรือเอกสารข้อมูลความปลอดภัยของวัสดุ หาได้ตามลิงค์เลยครับ >>> ศูนย์ข้อมูลวัตถุอันตรายและเคมีภัณฑ์

วันจันทร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

[34] สำรวจภัยบทที่ 2 - ลักษณะการประกอบการ

หลังจากที่สอบถามข้อมูลทั่วไปเรียบร้อยแล้ว หัวข้อมต่อมาที่เราจะพูดถึงกันก็คือ "ลักษณะการประกอบการ" ซึ่งจะมีองค์ประกอบหลักๆ ดังนี้ครับ