วันจันทร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

[44] สำรวจภัยบทที่ 3 - ทำเลที่ตั้ง


ภาคกลางของประเทศไทยเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำ...น้ำท่วมเกิดขึ้นทุกปี...ใครอยู่แนวพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากก็รับกันไป...แต่ไม่มีให้ใครให้ความสนใจมากนัก...ในอดีต

จนกระทั่งอภิมหาน้ำท่วมใหญ่เมื่อหลายปีก่อน...ผู้คนก็เริ่มให้ความสนใจกับ "ทำเลที่ตั้ง" มากขึ้น...สนใจข้อมูลเรื่องความสูงจากระดับน้ำทะเล (Mean Sea Level - MSL) กันมากขึ้น...

ในทางการสำรววจภัยนั้น เรื่อง "ทำเลที่ตั้ง" เป็นส่วนที่เราจะหาข้อมูลเพื่อโยงไปยังความเสี่ยงในด้านต่างๆ ได้...แบ่งได้เป็น 2 หัวข้อใหญ่ๆ ได้แก่
  • ภัยธรรมชาติ - ลองพิจารณาข้อมูลเหล่านี้ครับ...อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล, ใกล้แม่น้ำ, ใกล้ทะเล, แนวพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก, พื้นที่ฟ้าผ่าบ่อยๆ (ชลบุรี, ปราจีนบุรี, ระยอง), พื้นที่ดินสไลด์ (เนินเขา), แนวแผ่นดินไหวบ่อยๆ, พื้นที่มีรายงานดินทรุดตัว (สมุทรสาคร, สมุทรสงคราม), พื้นที่เจอพายุลูกเห็บ (ภาคเหนือ, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), ...
  • ความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอก - ตอนนี้ที่ชัดๆ เลยก็คือ อยู่ในพื้นที่มีการประท้วงบ่อยๆ เช่น แยกราชประสงค์, สวมลุมพินี หรือแยกอโศก เหล่านี้ต้องจะโยงไปถึงแผนการรับมือกับเหตุการณ์เหล่านี้ด้วย
"พิกัดทางภูมิศาสตร์" สามารถช่วยเราวิเคราะห์เรื่องพวกนี้ได้ครับ...เดี๋ยวนี้หาข้อมูลเหล่านี้ได้ไม่ยาก...ฐานข้อมูลต่างๆ มีให้ใช้มากมายในยุคอินเตอร์เน็ตรุ่งเรือง...ใช้มันให้เป็นประโยชน์ครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น