ทุกๆ สถานที่ต้องมีระบบนี้..."ระบบรักษาความปลอดภัย (Securities)"...
แต่ใช่ว่าทุกที่จะมีระดับความปลอดภัยที่่มีประสิทธิภาพเท่ากัน...บทความนี้ไม่ได้คาดหวังให้มีเหมือนกันทั้งหมด...แต่คงคาดหวังให้มีอย่าง "เหมาะสม" ในแต่ละธุรกิจ...
ข้อมูลที่สนใจในเรื่องของระบบรักษาความปลอดภัยได้แก่...
- พนักงานรักษาความปลอดภัยมีกี่คน ทำงานกันกี่กะ กะละกี่คน
- พนักงานรักษาความปลอดภัยเป็นของบริษัทเองหรือว่าจ้าง
- ป้อมรักษาการณ์มีกี่จุด ที่ไหนบ้าง
- การตรวจสอบคนเข้า-ออก และการเก็บข้อมูล
- รอบการเดินตรวจพื้นที่ วิธีการตรวจตรา เช่น ลงบันทึก ใช้เครื่องอิเล็กทรอนิกส์
- ประตูเข้าออกเรามีกี่จุด
- มีพื้นที่ที่เป็นจุดบอดหรือไม่
- การอบรมเบื้องต้นของพนักงานรักษาความปลอดภัยเป็นอย่างไร เช่น การสื่อสาร การใช้อุปกรณ์ดับเพลิง
- พนักงานรักษาความปลอดภัยสามารถเข้าถึงจุดไหนได้บ้าง โดยเฉพาะเวลากลางคืน เช่น ถือกุญแจบางอาคารเพื่อเข้าไปตรวจข้างในได้
- มีการติดตั้งระบบรักษาความปอลดภัยพิเศษเพิ่มเติมหรือไม่ เช่น ระบบตรวจจับการบุกรุก สัญญาณเตือนการบุกรุก รั้วไฟฟ้า
- การติดตั้งระบบกล้องวงจรปิด ได้แก่ จำนวน จุดที่ติดตั้ง ครอบคุลมพื้นที่ไหนบ้าง ห้องควบคุม คนรับผิดชอบ การบันทึกข้อมูล การเก็บสำรองข้อมูล ...เหล่านี้ไม่นับกล้องจับผิดพนักงาน เอ้ย! ไม่ใช่...กล้องสำหรับการผลิตนะครับ...คนละวัตถุประสงค์กัน
ความเสี่ยงที่ซ่อนอยู่ก็คงพอเห็นภาพกันคร่าวๆ จากข้อมูลข้างต้น...จุดประสงค์หลักเลยก็คือรักษาความปลอดภัยให้กับพื้นที่ ป้องกันการลักขโมย ตรวจสอบเหตุผิดปกติต่างๆ เพื่อลดความสูญเสียต่อคนและทัรพย์สินของธุรกิจ...
แต่มีเรื่องสำคัญที่ต้องระมัดระวังก็คือ..."การสมรู้ร่วมคิด"...ของพนักงานรักษาความปลอดภัยเอง...ลองดูกรณีศึกษา 2 ข้อนี้ครับ....
- บริษัทต้องเปลี่ยนพนักงานรักษาความปลอดภัยทุก 6 เดือนหรือ 1 ปี เพราะวัตถุดิบ/สินค้า มีมูลค่าสูงมาก ลักลอบเอาออกได้ง่าย
- วัตถุดิบในโรงงานหายเป็นตัน!....แต่ตรวจสอบไม่ได้
จะเห็นว่ามีทั้งการสมรู้ร่วมคิดและการป้องกัน...แต่ยังไงก็ตาม...ต้องมีมาตรการจัดการหลังจากเกิดความเสียหายที่ชัดเจน...เช่น ทำสัญญากับบริษัทรักษาความปลอดภัยเรื่องการรับผิดชอบความเสียหาย...และบทลงโทษหากเป็นพนักงานของเราเอง...ก็ว่ากันไปครับ...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น