1. โครงสร้างแบบ A - ได้แก่ โครงสร้างที่ประกอบด้วยวัสดุติดไฟไม่เกิน 25%
2. โครงสร้างแบบ B - ได้แก่ โครงสร้างที่ประกอบด้วยวัสดุติดไฟไม่เกิน 50%
3. โครงสร้างแบบ C - ได้แก่ โครงสร้างที่ประกอบด้วยวัสดุติดไฟมากกว่า 75%
อาจจะดูไม่ค่อยเหมือนกับมาตรฐานที่ใช้กันทั่วไปที่มีการแบ่งแยกย่อยลงไปอีก...ยิ่งละเอียด ยิ่งดี...ลองดูของ FM Global Data Sheet ที่เค้ารวบรวมมาจากหลายๆ มาตรฐานดูครับ...
Reference: FMDS0101 Fire Safe Building Construction and Materials (April 2012)
การที่ "โครงสร้างอาคาร" ในการสำรวจภัยแบ่งเป็นแค่ 3 กลุ่ม ก็เนื่องจากเราจะพิจารณาถึง "ความสามารถในการป้องกันไฟ" หรือในทางกลับกันจะพูดว่า "ความสามาถในการลุกลามของไฟ" ก็ได้...
- พื้น เช่น คอนกรีต, ไม้, ยางสังเคราะห์
- เสา เช่น คอนกรีต, เหล็ก, คสล., คอนกรีตครึ่งเหล็กครึ่ง
- ฝ้า เช่น คอนกรีต, ยิปซั่ม+อลูมิเนียมทีบาร์
- ผนัง เช่น คอนกรีต, กระจก
- โครงสร้างหลังคา เช่น โครงเหล็ก, คาน คสล....โครงสร้างเหล็กต้องระวังเรื่องการทรุดตัวเมื่อโดนความร้อน...
- หลังคา เช่น กระเบื้อง, เหล็กแผ่น, หลังคาคอนกรีต....จุดสำคัญคือเรื่อง "น้ำรั่ว"
- โถงสูง เช่น ตามห้งสรรพสินค้า โรงแรม หรือว่าคอนโด ...จุดนี้จะทำให้การแพร่กระจายและสะสมของควันหรือไฟทำได้โดยง่าย เพราะอากาศจะไหลเวียนได้ดี การระบายควันจึงต้องนำมาพิจารณา
- ผนังกันไฟระหว่างพื้นที่ เช่น ผนังกันไฟ ส่วนนี้จะเป็นการจำกัดการลุกลามของไฟไปยังพื้นที่ข้างเคียง จะพบเจอตามห้างสรรพสินค้า ซึ่งอาจจะเป็นประตูเหล็กม้วน หรือประตูกันไฟ
- ทางหนีไฟ ตรงนี้จะพิจารณาว่ามีเพียงพอหรือไม่. เป็นประตูเหล็กทนไฟ. มีระบบอัดอากาศ. ป้ายทางหนีไฟชัดเจน, ล็อกแบบคานผลัก, ปิดอัตโนมัติหรือว่าเปิดตลอดเวลา, มีของวางกีดขวางหรือไม่ก็วางของเต็มทางหนีไฟหรือเปล่า...
- การใช้วัสดุทนไฟ...เช่น พ่นตามฝ้า คาน เสา ผนัง ใต้หลังคา...เพื่อป้องกันการลุกลามของไฟ
ทั้งนี้การที่มีอาคารที่วัสดุติดไฟเป็นองค์ประกอบน้อยหรือมีการใช้วัสดุป้องกันไฟอย่างดี...การลุกลามของไฟก็น้อยตามไปด้วย..ความเสียหายก็ลดลงตามไปด้วย...อย่างน้อยโครงสร้างก็ไม่บอบช้ำมาก...จะก่อสร้างใหม่ก็คงใช้งบกันไม่น้อยนะครับ...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น