
ถึงตรงนี้หลายคนอาจจะยังนึกไม่ออกว่า แล้วงานลักษณะนี้เค้าทำกันยังไง ผมจะอธิบายง่ายๆ เลย เช่น มีโรงงานผลิตชิ้นส่วนพลาสติกแห่งหนึ่ง ต้องการที่จะลดความเสี่ยงต่างๆ ในโรงงาน เช่น จากการทำงาน การใช้อุปกรณ์ การดูแลรักษาเครื่องจักร หรือ ความเสี่ยงใดๆที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายรุนแรงได้ เช่น ไฟไหม้ เป็นต้น ทางโรงงานจึงตั้งหน่วยงานวิเคราะห์ความเสี่ยงภัยขึ้นมา เพื่อทำการวิเคราะห์ภาพรวมภายในบริษัท และกำหนดจุดเสี่ยงขึ้นมา รวมไปถึงการหาวิธีการลดความเสี่ยงนั้นๆ ลง
หรือในอีกแบบหนึ่ง งานในลักษณะนี้จะเกี่ยวข้องกับบริษัทประกันภัยที่ต้องการสำรวจและประเมินความเสี่ยงของลูกค้าก่อนที่จะรับประกัน ... ตรงนี้ผมคิดว่าคงเข้าใจได้ง่ายขึ้นนะครับ
มาตรฐานที่ใช้ในการวิเคราะห์ความเสี่ยงนั้น สามารถอ้างอิงได้จากหลายแหล่ง ในเมืองไทยเราก็ใช้ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท.) หรือจะใช้ของต่างประเทศก็ได้ แล้วแต่สะดวก เช่น National Fire Protection Association (NFPA) เป็นต้น และเมื่อพูดถึงคนที่สามารถวิเคราะห์ความเสี่ยงได้นั้นก็ต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ในด้านนั้นๆ เป็นอย่างดี เช่น วิศวกร หรือผู้เชี่ยวชาญ หรือคนที่ทำงานด้านนี้โดยตรงที่เรียกว่า Risk Engineer
ถึงตรงนี้แล้วหลายคนก็อาจจะยังสงสัยอยู่ แล้วผมจะมาอธิบายต่อในบทความต่อไปครับ จะเปรียบเทียบให้เห็นภาพชัดขึ้นเรื่อยๆ...แล้วเราจะได้เข้าใจว่างานลักษณะแบบนี้มันมีความสำคัญมากน้อยแค่ไหนกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น