วันพุธที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

[50] สำรวจภัยบทที่ 6 - แผนผังอาคาร (Layout)

"แผนผังอาคาร (Layout)" ทำให้เห็นภาพรวมของอาคารต่างๆ ของบริษัทหรือภัยที่ทำการสำรวจว่ามีการจัดเรียงอาคารอย่างไร มีความสัมพันธ์กันอย่างไร หรือระยะห่างระหว่างอาคารมีมากน้อยแค่ไหน


การพิจารณาความเสี่ยงเรื่องแผนผังอาคาร (Layout) สรุปหลักๆ ได้ดังต่อไปนี้ครับ

1. ความเสี่ยงจากการลุกลามของไฟ - อาคารที่ติดกันหรือมีระยะห่างระหว่างอาคารน้อยเกินไป ซึ่งส่วนใหญ่จะกำหนดที่น้อยกว่า 15 เมตร สำหรับโครงสร้างแบบไม่ติดไฟ หากเกิดเหตุเพลิงไหม้ ไฟอาจจะลุกลามไปยังอาคารข้างเคียงได้ หรือสร้างความเสียหายจากรังสีความร้อนที่แผ่ออกมา....

ดังนั้นระยะห่างที่เพียงพอจึงเป็นเรื่องสำคัญ...แต่ส่วนใหญ่จะแก้ไขได้ยากเพราะเป็นการออกแบบไว้ตั้งแต่เริ่มสร้างอาคาร ดังนั้นสิ่งสำคัญคือ "การจำกัดพื้นที่การลุกลามของไฟ" ให้ได้ ...เช่น ใช้โครงสร้างไม่ติดไฟ ติดตั้งผนังกันไฟ หลีกเลี่ยงการวางวัสดุติดไฟระหว่างอาคารซึ่งสามารถเป็นสะพานไฟลุกลามไปยังอาคารต่างๆ ได้


2. จุดจัดเก็บวัสดุอันตราย - บางครั้งเราอาจจะไม่ทันสังเกต ว่าจุดจัดเก็บวัสดุอันตรายนั้นมันมีความเสียงมากน้อยแค่ไหน เพราะว่าเห็นอยู่ทุกวัน....แต่เมื่อมองจากแผนผังอาคาร (Layout) จะทำให้เห็นภาพที่กว้างมากขึ้น....ได้เห็นว่าจริงๆ แล้วบริเวณรอบๆ มีอะไรตั้งอยู่บ้าง...หากเกิดเหตุจรงจุดนี้ จะมีการลุกลามไปอย่างไร....อยู่ใกล้กับอาคารที่มีความสำคัญมากๆ หรือเปล่า...ถ้าใช่...ก็ต้องมีการย้ายจุดเก็บกันล่ะครับ...ถ้าย้ายไม่ได้ก็ต้องมีการปรับปรุงเพื่อป้องกันการลุกลามของไฟเพื่อจำกัดความเสียหายกันหน่อย...

3. การจรจร - มีความสำคัญไม่น้อย เพราะจัดระเบียบการจราจรดีก็ไม่มีปัญหาเรื่องอุบัติเหตุ อีกอย่างที่ซ่้อนอยู่ก็คือ การเข้าถึงของรถดับเพลิงในพื้นที่ต่างๆ เมื่อจำเป็น...มีถนนกว้างเพียงพอกันหรือยังครับ?

4. จุดอพยพ - เป็นจุดที่ปลอดภัยและเพียงพอหรือไม่....ลองพิจารณาดูครับ

และที่สำคัญมากๆ..."แผนผังอาคาร (Layout)"...ทำให้ไม่หลงทาง หลงทิศ ระหว่างการเดินสำรวจภัยครับ....

[Go to Risk Survey Content]

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น