วันพุธที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

[21] ความเสี่ยงในโรงงานผลิตเอทานอล (Ethanol Manufacturing Risk)

เอทานอล (Ethanol, Ethyl Alcohol) เป็นอะไรที่ต้องพูดถึงกันมาก หลังจากที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการผลิตน้ำมันชนิดแก๊สโซฮอล์ (Gasohol) หรือน้ำมันผสมแอลกอฮอล์นั่นเอง เห็นได้ชัดครับว่า ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาได้มีการตั้งโรงงานผลิตเอทานอลขึ้นมากมาย เพื่อรองรับกับความต้องการของตลาด โดยเฉพาะกลุ่มโรงงานที่ผลิตน้ำตาล ที่จะได้กากน้ำตาลเป็นผลิตภัณฑ์สุดท้าย ซึ่งสามารถนำไปผลิตเป็นเอทานอลได้นั่นเอง

กระบวนการผลิตเอทานอลก็ไม่ยุ่งยากครับ ดูได้จากภาพด้านล่างได้เลย 


วันพุธที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

[20] ชั้นเก็บสินค้า (Rack Storage) ... อย่ามองข้ามความปลอดภัย

ชั้นเก็บสินค้า (Rack Storage)...มันก็ต้องใช้เก็บสินค้าหรือวางสินค้าอยู่แล้ว แต่แล้วมันเกี่ยวข้องกับความปลอดภัยตรงไหน? เรามาดูกันครับ

ชั้นเก็บสินค้า (Rack Storage) ส่วนใหญ่จะพบในโรงงานหรือว่าโกดังเก็บสินค้า (Warehouse) โดยส่วนมากจะทำมาจากเหล็ก โครงสร้างจะมีความแข็งแรงมากน้อยแค่ไหน ก็ขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งาน หรือว่าของที่จะนำมาวางนั่นเอง ต้องคำนวณกันทั้งปริมาณสินค้า น้ำหนักสินค้า จำนวนชั้นเก็บสินค้า ความสูง รองรับน้ำหนักได้สูงสุดเท่าไหร่ และใช้งานจริงได้เท่าไหร่ พวกนี้ต้องมีการคำนวณหมดครับ ไม่ใช้ว่าอยากจะติดก็ติด

อีกส่วนหนึ่งที่สำคัญมาก แต่มักจะถูกลืมก็คือ "แนวป้องกัน (Guard)" ที่ฐานของชั้นเก็บสินค้า (Rack Storage) ที่มีไว้เพื่อป้องกันไม่ให้ฐานของชั้นเก็บสินค้า (Rack Storage) เกิดความเสียหายจากการกระแทก การชน หรือเหตุใดๆ ก็ตาม จนทำให้ฐานเกิดบิดงอหรือเสียรูปจนไม่สามารถรับน้ำหนักได้ตามปกติ สิงที่เลวร้ายที่สุดก็คือ ชั้นเก็บสินค้า (Rack Storage) ล้มลงมาจนทำให้สินค้าเสียหาย และเกิดปรากฏการณ์โดมิโน ล้มทับกันไปเป็นทอดๆ สร้างความเสียหายกันไปหมดทั้งพื้นที่เลยครับ 

วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

[19] การติดตั้งถังดับเพลิงนั้น สำคัญไฉน (Portable Fire Extinguisher)

ขึ้นชื่อว่าถังดับเพลิง (Portable Fire Extinguisher) ก็คงพบเห็นกันได้ทั่วไป แต่จะมีใครสงสัยบ้างมั้ยครับ ว่าทำไมมันต้องอยุ่ตรงนี้ ทำไมต้องอยู่ตรงนั้น ? เอ๊ะ! ยังไง..

การติดตั้งถังดับเพลิง (Portable Fire Extinguisher) นั้นมันมีมาตรฐานการติดตั้งอยู่ครับ อ้างอิงตาม วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท) หรือว่า National Fire Protection Association (NFPA) ก็เหมือนกัน อธิบายได้คร่าวๆ ดังนี้ครับ (ผมสรุปตามความเข้าใจนะครับ ถ้าอ้างอิงตามมาตรฐานจริงๆ เดี๋ยวจะยาว)

- ควรติดตั้งอยู่ใกล้กับทางออก ซึ่งสามารถหยิบใช้ได้โดยง่าย
- กรณีติดแบบแขวนผนัง ความสูงจากพื้นถึงส่วนด้ามจับ หรือส่วนบนสุดของถัง ควรจะไม่เกิน 1.2 เมตร เพื่อการหยิบเอามาใช้งานได้ง่ายครับ..สูงไปเดี๋ยวจะเอื้อมไม่ถึง
- ถ้าวางกับพื้น ควรมีฐานรองเพื่อยอกสูงจากพื้นประมาณ 30 เซนติเมตรครับ เพื่อการหยิบจับที่ง่ายเช่นกัน

วันอาทิตย์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

[18] สภาพแวดล้อมรอบๆ งานก่อสร้าง (Surroundings Exposure)...สิ่งที่ไม่ควรมองข้าม

มันมีเหตุที่ต้องเขียนเเรื่องนี้ครับ แต่ก่อนอื่นขออธิบายก่อนว่า สภาพแวดล้อม (Surroundings Exposure) ในทาง การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) แล้วมันมีความหมายอย่างไร

สภาพแวดล้อม (Surroundings Exposure) จะหมายถึงสิ่งแวดล้อมรอบๆ ภัย (Risk) ที่เราทำการสำรวจหรือประเมิน ไม่ว่าจะเป็นด้านหน้า ด้านหลัง ด้านข้าง หรือทิศทางใดก็ตาม หรือในบางครั้งจะใช้ "ทิศ" (Direction) ก็ได้ เช่น ทิศเหนือ ใต้ ตะวันออก หรือตะวันตก

สิ่งที่เราสนใจก็มีอยู่ 2 อย่าง คือ
  • สภาพแวดล้อม (Surroundings Exposure) เค้าทำอะไร เช่น ตึกสูง คอนโดมิเนียม โรงงานฉีดพลาสติก ทำของเล่น โรงไม้ หรือว่าเป็นโรงงานผลิตสารเคมีไวไฟ...(อันนี้ก็อันตรายหน่อยนะครับ)
  • และมีระยะห่าง (Spatial Distance) เท่าไหร่ ยิ่งถ้าเป็นภัย(Risk) ที่ถูกแวดล้อมด้วยสภาพแวดล้อม (Surroundings Exposure) ที่มีความอันตรายสูง (High Risk Exposure) ยิ่งต้องมีระยะห่างที่มากพอจะปลอดภัยหากเกิดเหตุขึ้น โดยส่วนมากจะเริ่มพิจารณาใช้ระยะห่างกันที่ 15 เมตร ก่อนเลยครับ ถ้ายิ่งอันตราย ระยะห่างก็มากขึ้น
ทีนี้มาเข้าเรื่องที่งานก่อสร้างครับ